ในโลกยุคดิจิทัลที่การกู้เงิน หรือการขอสินเชื่อออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่าย และทำได้รวดเร็วบนมือถือแบบไม่ยุ่งยากผ่านระบบออนไลน์ แต่ในเวลาเดียวกันความสะดวกนี้ก็มาพร้อมกับภัยอันตรายจากมิจฉาชีพที่อาศัยช่องโหว่ของระบบเข้ามาล่อลวงเพื่อเอาข้อมูลบางอย่าง จนอาจทำให้เราเสียเงิน เสียเวลา และบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของเราเลยทีเดียว
โดยในตอนนี้มีกลโกงจากมิจฉาชีพในรูปแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเพื่อหลอกเราอย่างการใช้โฆษณาตามสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ พร้อมข้อความชวนเชื่อ ที่มักระบุว่า “เงินด่วน กู้เงินง่าย อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องใช้เอกสาร คลิกตรงนี้สิ” เพื่อเป็นข้อเสนอที่ให้เงินด่วนง่าย ๆ กับเราแบบนี้ แล้วจะรับมืออย่างไรถ้าเจอกลโกงในลักษณะนี้ วันนี้เราจะมาเปิดกลโกงแก๊งเงินกู้ออนไลน์เพื่อให้ทุกคนได้รู้เท่าทัน และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอีกต่อไป
เผย 3 กลโกงขอสินเชื่อออนไลน์ ที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อ
1. เปิดเพจ–ไลน์ปลอม ตั้งชื่อให้เหมือนธนาคาร
มิจฉาชีพเหล่านี้มักใช้วิธีการเปิดเพจหรือไลน์ปลอม โดยจะใช้ชื่อที่ใกล้เคียงกับธนาคาร เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และใช้วิธีส่งข้อความหรือโทรมาหาเราโดยตรง และเสนอเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ กู้ง่ายไม่ต้องใช้เอกสาร หรือติดแบล็กลิสต์ก็ยังกู้ได้เพื่อหลอกเหยื่อให้หลงเชื่อ และตายใจกู้เงินกับมิจฉาชีพโดยทันที หากเราพลาดกู้เงินไปมิจฉาชีพก็จะใช้ข้ออ้างขอเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าลัดคิว เมื่อเหยื่อเริ่มรู้ตัวพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ก็จะบล็อคเบอร์ หรือบล็อคแชทหนีไป ทำให้เราโดยหลอกเอาเงินไปฟรี ๆ แบบไม่ทันตั้งตัว
เพื่อไม่ให้ใครต้องตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพหากเป็นบัญชีไลน์ของแท้จากธนาคาร เช่น บัญชีไลน์ของธนาคารกรุงศรี ของแท้จะมีสัญลักษณ์โล่สีเขียวอยู่หน้าชื่อบัญชี หรือถ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจของธนาคารกรุงศรีจะมีสัญลักษณ์เครื่องหมายติ๊กถูกสีน้ำเงิน อยู่หลังชื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเสมอ และมั่นใจได้ทุกครั้งถ้ามีข้อความแชทจากธนาคาร ธนาคารจะไม่มีนโยบาย ขอข้อมูลส่วนบุคคลจากลูกค้า เช่น เลขบัตรประชาชน เลขวันเดือนปีเกิด เลขรหัสข้อมูลส่วนตัวทุกประเภท หรือถ้าในกรณีแชทที่กำลังคุยบอกว่ามีส่งเลขความปลอดภัย (OTP) มายังเบอร์ของเราแล้วให้บอกเลขนั้นกลับมา อย่าส่งให้โดยเด็ดขาด หากว่าใครเจอแชทที่กำลังปลอมเป็นธนาคาร สิ่งที่เราควรทำก็คือเก็บหลักฐานประวัติการแชทพูดคุย แล้วสอบถามกับเจ้าหน้าที่กรุงศรี ผ่าน inbox facebook @KrungsriSimple เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
2. ใช้เอกสารราชการปลอม หลอกให้โอนเงิน
พวกมิจฉาชีพเหล่านี้จะใช้วิธีปลอมเอกสารจากกระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยการทักแชทมาหาเรา แล้วนำเสนอเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ แต่ถ้าเราคุยแล้วไม่แน่ใจ ทางมิจฉาชีพก็จะแสดงเอกสารปลอม เช่น ใช้เอกสารที่แอบอ้างว่าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสถาบันการเงินจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่งมาให้เรามั่นใจว่ากู้เงินกับเราเชื่อถือได้แน่ ๆ ตรงนี้แหละที่มิจฉาชีพอาศัยจังหวะที่เราไม่ทันได้เช็กข้อมูลให้ถูกต้อง ส่งเลขที่บัญชี หรือคิวอาร์โค้ดโอนเงินมาให้เรา แล้วอ้างว่าต้องมีโอนเงินเพื่อจ่ายค่าดำเนินการกู้เงิน อาจคิดเป็น 10% ของยอดเงินกู้ ถ้าเราหลงกลและโอนเงินให้เมื่อไหร่ก็จะถูกบล็อกข้อความทันที ไม่สามารถติดตามตัวได้
3. เปิดแอปฯ–เว็บ กู้เงินเถื่อนแบบออนไลน์
ในตอนนี้หลายคนมักเจอแอปฯ หรือเว็บไซต์ กู้เงินด่วน กู้เงินแบบออนไลน์ต่าง ๆ ใช้วิธีหลอกให้เรากรอก ชื่อ–นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ถ่ายรูปบัตรประชาชนแล้วให้อัปโหลดขึ้นไปบนเว็บ และเสนอเงินให้กับเราตามที่ตกลง แต่เมื่อได้เงินก็ได้ไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้ หากว่าเราจะคืนเงิน มิจฉาชีพเหล่านี้ก็จะข่มขู่เราด้วยดอกเบี้ยโหด ๆ และถ้าไม่จ่ายเงิน มิจฉาชีพก็จะเริ่มข่มขู่เราด้วยวิธีต่าง ๆ ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย และหลงกลโอนเงินตามคำขู่ไปในที่สุด ดังนั้นก่อนที่เราจะกดลิงก์ หรือกรอกข้อมูลสำอย่างชื่อ–นามสกุล วัน–เดือน–ปีเกิด เลขที่ประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล รหัสผ่าน เลขบัญชี เลขหน้าบัตร รหัสหลังบัตร รวมถึงรหัส OTP อะไรลงบนเว็บไซต์ก็อย่าลืมสังเกตสัญลักษณ์ชื่อ URL ต้องมีเครื่องหมายรูปแม่กุญแจ และชื่อของ https:// ทุกครั้งเพราะจุดสังเกตทั้ง 2 บ่งบอกเว็บนั้นคือเว็บที่ปลอดภัย ถ้าหากว่าเราเจอแอปฯ หรือเว็บไซต์กู้เงินเหล่านี้ก็ไม่ควรติดตั้งหรือเปิดใช้งานในโทรศัพท์ของเรา เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแก๊งเงินกู้ออนไลน์
หากว่าเราเดือดร้อนเรื่องการเงินจริง ๆ ก็ยังมีแอปกู้เงิน บริการเงินด่วน หรือสินเชื่อออนไลน์ที่ปลอดภัย และให้บริการการกู้เงินอย่างถูกกฎหมาย เช่น สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคลกรุงศรี iFIN ที่เราสามารถทำเรื่องกู้เงิน การขอสินเชื่อออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องไปที่ธนาคาร สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ KMA (Krungsri Mobile App) มั่นใจได้เลยว่า กู้ยืมเงินผ่านบริการของธนาคารกรุงศรี ปลอดภัย ได้เงินชัวร์ แถมดอกเบี้ยยังถูกกว่าการไปกู้เงินเถื่อนอีกนะ หากใครสนใจก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองดังนี้
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน KMA ติดตั้งในมือถือ
เข้าสู่ระบบ หาเมนู “สมัครสินเชื่อบัตรเครติต” > “สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล” แล้วกดเลือก “สินเชื่อ iFIN”
กรอกรายละเอียดและข้อมูลส่วนตัวของเราให้ครบถ้วน แล้วกดยอมรับเงื่อนไข จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับโดยเบอร์ของธนาคารกรุงศรีเท่านั้น และเราสามารถติดตามสถานะการกู้ยืมเงินผ่านแอปฯ KMA ได้เลย ง่าย ๆ
สุดท้ายนี้ในสังคมยุคดิจิทัลที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้แหล่งกู้เงินออนไลน์กลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และเป็นที่ต้องการสำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาเรื่องการเงิน จากปัญหาข้างต้นที่เราได้กล่าวมาสรุปได้ว่า การกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ที่ผิดกฎหมาย และไม่ได้รับการอนุญาตจากทางภาครัฐ มีแต่จะสร้างปัญหาให้เราไม่จบสิ้น ทั้งเสียประโยชน์ และเสียทรัพย์สินเมื่อโดนทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้นก่อนตัดสินใจกู้เงินออนไลน์ ผู้กู้จะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้นั้น ๆ หรือทางออกที่ดีที่สุดคือเลือกขอสินเชื่อออนไลน์จากสถาบันการเงินที่ถูกกฎหมาย และอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (https://www.bot.or.th) เพื่อจะได้มั่นใจว่าเราได้ขอสินเชื่ออย่างถูกกฎหมายแน่นอน
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา