เสียงจากแรปเปอร์ส่งถึงรัฐบาล ไร้รัฐสนับสนุน ศิลปินต้องโกอินเตอร์ด้วยลำแข้งตัวเอง

เสียงจากแรปเปอร์ส่งถึงรัฐบาล เมื่อก.วัฒนธรรมได้งบประมาณสูงสุดเกือบ 9 พันล้านบาท/ปี แต่เพลงไทยกับไม่ถูกผลักดัน ศิลปินต้องโกอินเตอร์ด้วยลำแข้งตัวเอง

 

“โย่ว และนี้คือเสียงจากเด็กวัด” …. หนึ่งในท่อนเพลงฮิตติดหู ของศิลปินแรปเปอร์อย่าง “รัธพงศ์ ภูรีสิทธิ์” หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อ “ยังโอม” 

ที่เมื่อวานนี้เจ้าตัวโพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า MV เพลงธาตุทองซาวด์ ผมใช้เงินตัวเองลงไปประมาณ 1,200,000 บาท เป็น MV ที่ผมใช้เงินเยอะที่สุดในชีวิต…

ที่ผมต้องลงทุนเยอะขนาดนี้เพราะอยากให้ทั้งโลกเขาเห็นว่าคนไทยก็เฟี้ยวเหมือนกันนะ คนไทยถ้าเอาจริงๆเราทำได้ทุกอย่าง เรามีความสามารถ เรามีศิลปินที่เก่งมากๆในทุกๆแขนงของศิลปะ 

นี้ขนาดผมทำด้วยตัวคนเดียว ด้วยเงินตัวเองมันยังได้ขนาดนี้ ผมอยากจะรู้จริงๆถ้าคนไทยได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือจากไหนสักที่ วงการศิลปะบ้านเราจะไปได้ไกลแค่ไหน แล้วจะนำพาประเทศเราไปได้ถึงจุดไหน จะไปได้ไกลเท่าเกาหลีมั้ยนะ…

และนี้คือเสียงจากอดีตเด็กโรงเรียนวัดธาตุทองตัวเล็กๆ ที่อยากเห็นประเทศนี้เฟี้ยวกว่าเดิม

เมื่อพิจารณาประโยคทั้งหมดที่ “ยังโอม” โพสต์แล้ว ตีความหมายได้ว่า “เขาอยากให้วงการเพลงให้ได้ go inter ไปได้ไกล” ซึ่งสิ่งที่จะขับเคลื่อนให้วงการเพลงไทย ถูกเผยแพร่ไปยังต่างประเทศ ส่วนหนึ่งก็ต้องได้รับแรงสนับสนุนจาก “รัฐบาล” ด้วย แล้วสิ่งนี้จะเป็นไปได้ไหม? Brand Inside จะขยายภาพให้ชัดขึ้น

ลองมาโฟกัสหรือเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้นระหว่าง “อุตสาหกรรมเพลงเกาหลีใต้” กับ “อุตสาหกรรมเพลงไทย” ซึ่งทั้งสองประเทศมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ขับเคลื่อนและส่งเสริมนโยบายทางด้านวัฒนธรรม 

ลงลึกมาให้ชัดโดยลองเปรียบเทียบ “วิสัยทัศน์” ของทั้งสองกระทรวงจากทั้งสองประเทศ 

วิสัยทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลีใต้

1.K -contents, a game changer that transforms the exports structure of Korea  (จัดให้คอนเทนต์ต่าง ๆ เกม ของเกาหลี เป็นแกนหลักในการส่งออกวัฒนธรรม)

2.Arts, driver of K-culture for the next generation (ถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรมของเกาหลีให้คนรุ่นต่อไป) 

วิสัยทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรมไทย

  1. เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ สืบสานศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ดีงามของสังคมไทย
  2. ส่งเสริมเศรษฐกิจวัฒนธรรม เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  3. พัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศและส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก
  4. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จิตสำนึกค่านิยมเชิงบวก และคุณลักษณะของคนไทยที่พร้อมปรับตัวสู่อนาคต
  5. ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์ และการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
  6. บริหารจัดการงานศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

จะเห็นได้ว่าความชัดเจนวิสัยทัศน์ของทั้งสองประเทศค่อนข้างแตกต่างกัน ในความเป็นประเทศเกาหลีค่อนข้างชัดเจนเลยว่าคอนเทนต์ต่าง ๆ ไม่ว่า ดนตรี ศิลปิน ซีรีย์ ภาพยนตร์ เป็นยุทธศาสตร์หลักของประเทศเกาหลี 

สำหรับประเทศไทยข้อความค่อนข้างเป็นภาษาราชการ ซึ่งมีข้อความหนึ่งที่ระบุว่าได้ว่า “พัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศและส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก” 

ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ว่า รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนเรื่องนี้ โดยเห็นได้จาก ศิลปะการร่ายรำไทย การแสดงโขน มวยไทย ที่ไปแสดงบนเวทีต่างประเทศ รวมถึงนำมาแสดงต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองจากต่างประเทศ หรือยังคงรักษาวิถีชีวิตไทยแบบดั้งเดิมไว้

แต่จะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ดูสากล ทั้ง ๆ ที่กระทรวงวัฒนธรรมของไทยได้งบประมาณด้านวัฒนธรรมสูงเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ 

จากข้อมูลของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พบว่า ในปี 2563 กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานในการผลักดันอุตสาหกรรมดนตรี ได้งบประมาณประจำปี อยู่ที่ 8,506,400,000 ล้านบาท รองลงมาเป็นงบประมาณกระทรวงการท่องเที่ยวอยู่ที่ 6,436,900,000 ล้านบาท ในปีเดียวกัน 

มาถึงจุดนี้หลายคนอาจคิดว่าประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว มาโดยตลอด ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันอุตสาหกรรมด้านอื่น 

เพราะการระบาด “โควิด 19” หรือไม่ ที่ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยหยุดชะงัก ไม่มีเม็ดเงินเข้าประเทศเป็นปี ๆ ยังไม่นับรวมที่ผ่านมาการนำเสนอภาพข่าวชาวต่างชาติถูกฆาตรกรรมสะเทือนขวัญดังไปทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการระบาดของ “โควิด 19” 

ด้วยมุมมอง ศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมด้าน ดนตรี ภาพยนตร์ รวมถึง เกม ที่ต้องยอมรับว่าศิลปิน นักแสดง ไทยหลายๆ คนสามารถออกไปประสบความสำเร็จในระดับโลกได้โดยปราศจากความช่วยเหลือของรัฐบาล อย่าง lisa Blackpink ที่ผลักดันตัวเอง จนได้เป็นศิลปินของค่าย YG หรือ ลองมองไปที่ Bam Bam กับการที่ได้ไปเล่น Half Time Show ของการแข่งขันบาสเกตบอล NBA ในฐานะ Global Ambassador ของทีม Golden State Warriors หรือ แวดวงดนตรีอินดี้ อย่าง ภูมิ วิภูริศ ศิลปินไทยเจ้าของเพลงฮิต Lover Boy ที่ได้ออกตระเวนทั่วคอนเสิร์ตไปทั่วโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากรัฐบาลให้ความสำคัญ อาจกลายเป็นยุทธ์ศาสตร์ในการผลักดันเศรษฐกิจทางอ้อมได้เช่นกัน  

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา