เปิดข้อกฎหมาย คนสักรับราชการไม่ได้จริงหรือไม่? และทำไมภาพจำของคนสักถึงดูเป็นคนไม่ดี

เปิดข้อกฎหมาย คนสักรับราชการไม่ได้จริงหรือไม่? และทำไมภาพจำของคนสักถึงดูเป็นคนไม่ดี

หากพูดถึง “รอยสัก” คนทั่วไปก็มักจะนึกถึงรูปภาพ บนผิวหนัง มีทั้งลวดลายสีสัน ขาวดำ รวมไปถึงการสักยันต์ ลงอาคม ตามสำนักอาจารย์ชื่อดัง ๆ บางก็ว่าสักเพราะเป็นความชอบมองว่าเป็นงานศิลปะ บางก็ว่าสักเพราะเรื่องของวิชาอาคม ความเชื่อ หนังเหนียว ฟันเเทงไม่ซึ่งก็มีดาราฮอลลีวูด นั่งเครื่องบินมาสักยันต์กับอาจารย์ชื่อดังในเมืองไทย ด้วย

ย้อนกลับไปสมัยก่อนพวกสามัญชน (ไพร่) จะต้องมีการสักร่างกายตามกรมกองที่สังกัดซึ่งเป็นการแสดงว่ามีเจ้านายที่ตนต้องรับใช้แต่ข้อกำหนดนี้ยกเว้นว่าพวกเจ้าพวกลูกขุนนาง ผู้ดีมีตระกูลทั้งหลาย ไม่ต้องสักเพื่อแสดงสังกัดนี้

ดังนั้น การสักจึงเป็นสัญลักษณ์ของคนชั้นต่ำ ไพร่ หรือ ทาส ไม่ใช่สำหรับผู้ดีหรือเจ้านายโรงเรียนนักเรียนนายร้อย ทหาร ตำรวจ จึงไม่รับพวกมีรอยสักคนที่รับราชการคือคนที่จะมาเป็นนายของราษฎรจึงควรเป็นคนไม่มีรอยสักคือต้องเป็นผู้ดีเท่านั้นที่สมควรเป็นเจ้าคนนายคน

นอกจากนั้น ในสมัยก่อน หรือแม้กระทั่งสมัยนี้ ค่านิยมของคนที่เคยเข้าคุกเข้าตะรางจะสักร่างกายกัน บางคนที่เข้าออกคุกหลายครั้ง ก็เลยมีลายสักเต็มตัว จนทำเกิดภาพจำไปในทันทีว่าคนที่สักเป็นกลุ่มคนที่เคยติดคุก หรือกลุ่มคนไม่ดีในสังคม ทั้งที่ในความเป็นจริง ปัจจุบัน การสักลาย กลายเป็นความสวยงาม หรือตามแฟชันไปแล้วเสียเยอะ 

แล้วประเด็นที่กลายเป็นกระแสให้คนพูดถึงเมื่อ “มีรอยสักแล้วสามารถรับราชการได้จริงๆ หรือไม่” ทีมงาน Brand Inside หาคำตอบมาให้อ่านกัน

อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ โดยแบ่งงานรับราชการออกเป็นกลุ่ม ดังนี้ 

กลุ่มงานข้าราชการพลเรือน สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ข้าราชการกทม. ข้าราชการท้องถิ่น ที่ไม่ใช่ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร กลุ่มงานนี้ไม่ได้ข้อห้าม หรือ ข้อจำกัด เรื่อง “รอยสัก” เวลาที่ไปสอบเข้างานราชการ ไม่มีข้อห้ามระบุว่า “ห้ามคนมีรอยสักสอบเข้าบรรจุ” งานราชการ แต่เมื่อถึงขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการในภาค ค. ซึ่งเป็นภาคของการพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง (การสอบบรรจุข้าราชการแบ่งเป็น ภาค ก./ภาค ข./ภาค ค.) คณะกรรมการก็จะใช้ดุลยพินิจ ดูลักษณะภายนอก การพูดคุย รวมไปถึงหากบุคคลนั้นมีการสักลาย แล้วลายนั้นอยู่บริเวณคอ สักที่หน้า สักที่หลังมือ  คณะกรรมการมีสิทธิหักคะแนนตรงนี้ได้ แต่ทั้งนี้ไม่มีการห้ามหากมีการสักในร่มผ้า 

ส่วนกลุ่มงาน ข้าราชการตำรวจ และทหาร ซึ่งในการสอบเข้ารับราชการทั้งตำรวจและทหารจะต้องมีการถอดเสื้อผ้าเพื่อตรวจร่างกาย โดยข้าราชการตำรวจนั้น มีข้อระบุตามเอกสารของกฎคณะกรรมการข้ราชการตำรวจ (กฎ ก.ตร.) ระบุว่า กรณี “รอยสัก” บุคคลนั้นสามารถมีรอยสักบนร่างกายได้ แต่รอยสักนั้นจะต้องมีขนาดรวมกันแล้วไม่เกิน 16 ตารางเซนติเมตร (หรือ 4×4 เซนติเมตร) ซึ่งจะมีคณะกรรมการใช้ดุลยพินิจในการตรวจร่างกาย 

ส่วนข้าราชการทหาร ขอเน้นไปที่นักเรียนนายสิบทหารบก ซึ่งมีสอบบรรจุเข้าในทุก ๆ ปี ตามเอกสารคำสั่ง ทบ. เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณารอยสักสำหรับการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ ระบุว่า หากบุคคลนั้นมีรอยสักจะต้องอยู่ในร่มผ้า ซึ่งเมื่อใส่ชุดกีฬา (เสื้อยืดคอวี กางเกงขาสั้น ถุงเท้าและรองเท้ากีฬา) จะต้องไม่ปรากฏรอยสักออกมาให้เห็นนอกร่มผ้า ซึ่งจะมีคณะกรรมการใช้ดุลยพินิจในการตรวจร่างกาย เช่นเดียวกับข้าราชการตำรวจ 

ขณะที่กลุ่มงานข้าราชการอัยการ ผู้พิพากษา ตามเอกสารของของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการมาตรา 49  ระบุว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครเพื่อสอบความรู้ ผู้สมัครรับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งในดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องมีคุรสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้  “เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรม” ซึ่งในระเบียบ พ.ร.บ. ก็ไมมีข้อความระบุแน่ชั้ดเรื่องของ “รอยสัก” แต่เมื่อถึงเวลาสอบและตรวจร่างกายทางคณะกรรมก็จะมีการพิจารณาเรื่อง “รอยสัก” ว่าความเหมาะสมหรือไม่ 

หรือแม้กระทั่งอาชีพ แพทย์ พยาบาล ระเบียบและจริยธรรม ข้อกำหนด ๆ ต่าง ตามเอกสารของแพทยสภา ไม่มีข้อไหนระบุว่า บุคคลที่รับราชการเป็น แพทย์ พยาบาล แต่โดยทั่วไปตามค่านิยมของคนไทย ก็จะมองว่า อาชีพ แพทย์ พยาบาล มีความใกล้ชิดกับคนไข้ คนป่วย ที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้สูงอายุ ที่มองในเรื่องของความน่าเชื่อถือในอาชีพ 

สรุปคือในแง่หนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า วิธีคิดของราชการอาจจะยังคงยึดติดอยู่กับภาพจำหรือความเชื่อบางอย่าง ที่ข้าราชการไม่สามารถแสดงรอยสักออกมาได้ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็ไม่ได้มีข้อห้ามที่เป็นตัวบทกฎหมายที่ห้ามคนที่มีรอยสัก ไม่ให้ทำงานในสายงานราชการเสียทีเดียว มีเพียงเงื่อนไขให้อยู่ภายใต้ร่มผ้าเท่านั้น 

หากบุคคลใดอยากสอบเข้ารับราชการจริง ๆ และส่วนตัวก็ชอบ “รอยสัก” อยากสักลายบนตัว อาจจะสอบเข้างานราชการได้เสียก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยสัก เพราะ เท่าที่ปรากฏตามข่าวบนสื่อต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ก็ยังไม่มีกรณีไหนที่บุคคลใดโดนสั่งให้ออกจากงานเพราะ “รอยสัก” 

อ้างอิง https://dop.rta.mi.th/images/pdf/0663/dop1876.pdf

https://www.tmc.or.th/service_law03.php

https://tmc.or.th/service_law02_17.php

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา