Source: pixabay
สำหรับเจ้าของรถยนต์ทุกคน เรื่องประจำที่ต้องทำควบคู่กับการเสียภาษีเลยก็คือการซื้อพ.ร.บ.รถยนต์ชื่อเต็มก็คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งตามชื่อเลยก็คือเราจำเป็นต้องทำ โดยพ.ร.บ.รถยนต์นี้มีอายุ 1 ปีดังนั้นในทุกปีเจ้าของรถจะต้องทำการต่ออายุ ส่วนใหญ่จะซื้อพร้อมกับประกันภาคสมัครใจหรือที่เราเรียกกันว่าประกันชั้น 1 ชั้น 2 แล้วแต่ความคุ้มครองที่เหมาะสมกับเจ้าของรถแต่ละท่าน
การทำ พ.ร.บ.รถยนต์ จะช่วยคุ้มครองเราจากการประสบอุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะชนรถยนต์ คนเดินข้ามถนน รถจักรยานยนต์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นการที่เรามีพ.ร.บ.รถยนต์จะทำให้เราได้รับความคุ้มครองจากรัฐ และได้รับค่าชดเชยตามที่ภาครัฐกำหนดไว้ ดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีผู้ประสบภัยได้รับทุพพลภาพ จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
ซึ่งความคุ้มครองเหล่านี้ไม่ได้คุ้มครองเพียงแค่คนขับเท่านั้น แต่ผู้ที่ประสบเหตุไม่ว่าจะใครก็ตามจะได้รับความคุ้มครองนี้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บ เสียทรัพย์ หรือเสียชีวิต ก็คุ้มครองเท่าเทียมกันหมด
ราคาของ พ.ร.บ.รถยนต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของรถ ดังนี้
- รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท/ปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท/ปี
- รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาท/ปี
พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนประกันภัยทุกเจ้า รวมถึงเคาท์เตอร์เซอร์วิสในร้านสะดวกซื้อก็ทำได้เช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วหากเราซื้อประกันรถยนต์ทางตัวแทนประกันจะถามอยู่แล้วว่าจะซื้อพ.ร.บ.ไปด้วยเลยหรือไม่ รวมถึงพ.ร.บ.ออนไลน์ก็สามารถซื้อได้จากตัวแทนประกันภัยบนเว็บไซต์หรือ LINE Official ของแต่ตัวแทนได้ตลอดเวลา อย่าลืมเช็ควันหมดอายุของพ.ร.บ.ก่อนซื้อด้วยนะ
Source: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | สาระสำคัญการประกันภัยรถภาคบังคับ ประกันภาคบังคับ (พรบ.รถยนต์) คืออะไร ? ทำไมถึงต้องทำ เรามีคำตอบ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา