เปิดข้อมูลเกณฑ์การตัดสิน Thailand Social Awards แต่ละแบรนด์ได้รางวัลมาอย่างไร

เปิดข้อมูลเกณฑ์การตัดสิน Thailand Social Awards แต่ละแบรนด์ได้รางวัลมาอย่างไร

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการประกาศรางวัล  Thailand Social Awards เมื่อวานนี้ (22 ก.พ.) ที่จัดขึ้นโดยบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด ซึ่งงานได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 11 เป็นการมอบรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยให้กับเหล่าคนโซเชียล

แต่ดูเหมือนงานนี้จะยังไม่จบง่ายๆ เมื่อมีคนเข้าไปคอมเมนต์ ถึงประเด็นการมอบรางวัล  Best Creator Performance on Social Media Variety ให้แก่ My Mate Nate ซึ่งคนที่เข้ามาคอมเมนต์ตามเพจต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ให้เหตุผลว่า เนื้อหาในช่องยูทูบของ My Mate Nate มีลักษณะคล้ายกับเนื้อหาของช่องยูทูบต่างประเทศ จึงเป็นการไม่เหมาะสมที่จะได้รับรางวัลนี้

ซึ่งทางคณะกรรมการของ Thailand Social Awards ได้ชี้เเจงหลักเกณฑ์ในการตัดสินอย่างชัดเจนผ่านเว็บไซต์ Thailand Social Awards ว่าได้ใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตัดสินพร้อมกับคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญ

โดยหลักเกณฑ์การตัดสินในครั้งนี้ทาง Thailand Social Awards  โดยได้พัฒนา “METRIC” เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การวัดผล ร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวงเพื่อความสมบูรณ์ของผลการตัดสิน

โดยแบ่งออกเป็น

📍BRAND METRIC

ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดีย ของแบรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆโดยวัดจากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) ออกมาเป็น Own Score และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ออกมาเป็น Earn Score ผ่าน 4 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter และ YouTube ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม

📍CONTENT METRIC

ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครไทย, ภาพยนตร์ไทย, รายการข่าว, ​รายการโทรทัศน์โดยพิจารณาจากกระแสการพูดถึงของคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย จึงจะทำการวัดผลการคนพูดถึงรายการนั้น ๆ ผ่าน Earn Channel บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม

📍CREATOR METRIC

ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล พิธีกร และอินฟลูเอนเซอร์ โดยวัดผลคอนเทนต์บนช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และจากการถูกพูดถึงหรืออ้างถึง (Earn Channel) บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม

📍โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ

Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือ

  • Followers
  • Reactions
  • Comment
  • Share
  • Views on YouTube
  • View on TikTok
  • Social Voice

Analytical Factors เพื่อเป็นการวัดผลเชิงคุณภาพ  ประกอบด้วย

  • Comment Ratio
  • Share Ratio
  • Sentiment

โดย พุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท Deputy Director of Data Research Product แห่ง Wisesight ระบุว่า  ช่องทางบน Facebook ซึ่งเป็นช่องทางหลักของแบรนด์ในปัจจุบัน ได้เพิ่ม Tag Friend และ Intention to buy เข้าไปด้วยซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละช่องทางในแต่ละ Factors ก็จะมีการให้น้ำหนักและความสำคัญแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม

สำหรับหมวด Content ก็จะหมายถึงการแจกรางวัลให้กับผลงานที่ถูกผลิตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ละครไทยภาพยนตร์ไทยหรือรายการข่าวต่าง ๆ ซึ่งจะวัดผลจากกระแสความดังที่ถูกพูดถึงบนโลกโซเชียลมีเดีย ผ่านช่องทาง earn Channel บนแพลตฟอร์มอย่าง Facebook Instagram Twitter YouTube และ TikTok

โดยในทุกๆช่องทางเนี่ยก็จะประกอบไปด้วย Fundamental Factor ที่เป็นค่าพื้นฐานอย่าง Social Voice Reaction comment แชร์และค่าวิวบน YouTube และ TikTok ครับโดยที่แต่ละช่องทางและแต่ละ Factor ก็จะถูกให้น้ำหนักแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละหมวดหมู่

อ้างอิง  Thailand Social Awards

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา