Haier แข็งแกร่ง โตสวนตลาด 19% โควิดระบาดก็ทำอะไรไม่ได้ เดินหน้าพัฒนาหลากแบรนด์

มร. จาง เจิ้ง กุ้ย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ปี 2022 กลับสู่สถานการณ์ปกติหลังโควิดระบาด ช่วงครึ่งปีแรก โรคระบาดยังมีผลกระทบต่อผู้ใช้งานอยู่บ้าง แต่ครึ่งปีหลัง มีการยกระดับกติกาการค้าการลงทุนและการประชุม APEC ทำให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วงหลัง

Haier

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านยังได้รับผลกระทบอยู่บ้างราว 7% แต่ Haier ประเทศไทยเติบโตกว่า 10% ปีที่ผ่านมา ปี 2021 จนถึงปีนี้ 2022 มีการทำงานรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ดังนี้

1) แบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ คือ Candy และ Casarte

แบรนด์ยุโรป Candy เปิดตัวปี 2019 มีแผนผลักดันทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบความสำเร็จทั้งอเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลีมาแล้ว ตั้งเป้า ทำการค้าในแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้เป็นที่ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากคือ Casarte เปิดตัวไปเมื่อสิงหาคมนี้เอง เป็นสินค้าระดับไฮเอนด์

2) ธุรกิจ Yudee เพื่อตอบโจทย์สมาร์ทโฮมแบบผ่อนจ่าย

3) การตอบสนองกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ด้วยแบรนด์ Casarte เช่นจะทำห้องนอนสมาร์ทโฮม ก็จะใช้แบรนด์นี้มาช่วยทำให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการทำ scenario รวมสินค้าทุกอย่างทุกไซส์ มาทำให้สมาร์ทโฮมสมบูรณ์ได้

4) จัดตั้งศูนย์ Haier ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อโฟกัสเรื่อง R&D สินค้าสมาร์ทโฮมมากขึ้น

5) เพื่อผลักดันพัฒนาความสามารถการผลิตทั่วโลก ลงทุนกว่า 1 พันล้านบาทเพื่อซัพพอร์ตการผลิตทั้งในไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย อเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ

ทั้งหมดนี้เพื่อยกระดับให้ผู้ใช้งานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น

กลยุทธ์สำหรับปี 2023 ของ Haier คือ

ตั้งเป้าเติบโตยิ่งขึ้น คาดว่ายอดขายจะมากขึ้นถึง 1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการเป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับ 1 สิ่งที่จะทำให้กลยุทธ์สำเร็จได้ ดังนี้

1) ต้องทำ Multi-brand ให้มีแบรนด์หลากหลาย ตอนนี้มี 4 แบรนด์คือ Haier, Casarte คือแบรนด์ไฮเอนด์ ตามด้วย Candy และ Yudee ซึ่ง Casarte คือแบรนด์ระดับนานาชาติ สินค้าไฮเอนด์ เน้นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่เป็นสมาร์ทโฮม ตั้งเป้าเป็นแบรนด์อันดับ 1 ลูกค้าไฮเอนด์ภายใน 3 ปีข้างหน้า

แบรนด์ Haier อยู่คู่ไทยมา 20 ปีแล้ว จะใช้กลยุทธ์สินค้าที่หลากหลายเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่ดี ให้ขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้ ส่วนแบรนด์ Candy แบรนด์ยุโรปหน้าใหม่ในไทย ตั้งเป้าเป็นอันดับ 1 ในแพลตฟอร์มออนไลน์ ขณะที่ธุรกิจ Yudee คือแบรนด์ Ecosystem

2) กลยุทธ์ไฮเอนด์แบรนด์ จะพัฒนาสินค้าให้ไฮเอนด์ขึ้นเรื่อยๆ จะจัดตามกลุ่มแบรนด์

3) พัฒนาการขายปลีก จะผลักดัน Brand Awareness ให้คนรู้จักมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันยอดขายเพิ่มมากขึ้น จะโฟกัสเรื่องประสบการณ์ผู้ใช้งานและผลักดันเรื่องขายปลีกมากยิ่งขึ้น ทาง Haier ก็หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับความเชื่อมั่นจากทุกคน

ธเนศร์ บินอาซัน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเอร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ช่วงที่มีโควิดและหลังโควิด ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปีนี้คาดว่าปิดยอดขายประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% แม้ตลาดลดลงแต่ก็เติบโตสวนตลาดได้ เรามีแบรนด์ในมือทั้งหมด 4 แบรนด์ มีกลยุทธ์และหน่วยงานที่สนับสนุนชัดเจน

ปี 2023 ที่ตั้งเป้า 1.2 หมื่นล้านบาท น่าจะมีโอกาสสูงที่จะทำได้ ถ้าสามารถผลักดันทั้ง 4 แบรนด์ออกไปได้ เราคำนึงความต้องการผู้บริโภคเป็นหลัก Haier Inspired Living ที่เป็นคอนเซ็ปต์ ความคิดและแรงบันดาลใจเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ตลอดเวลา

สำหรับเป้าปี 2025 คิดว่าส่วนแบ่งตลาดจะขึ้นอันดับ 1 ยอดขายราว 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์ โรงงาน ทรัพยากรบุคคลมีความพร้อมที่จะไปถึงตรงนั้นได้ ในส่วนของปี 2022 การทำตลาดในหมวดหลักๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ เป็นอันดับ 1 เชิงปริมาณ, ฟรีซเซอร์ 35% อันดับ 1 เชิงปริมาณ

ตู้เย็น เครื่องซักผ้า อันดับ 3 และ 4 ตามลำดับ โดยมีโรดแมปจะขึ้นอับดับ 2 ภายในปี 2025 บริษัทให้ความสำคัญทั้งงบประมาณการตลาด ผลิตภัณฑ์ แบรนดิง Haier มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดในไทยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย

ปิยะศักดิ์ ศรีบัว ผู้อำนวยการฝ่ายขาย พูดถึงกลยุทธ์ Haier ว่าเพิ่มแบรนด์อย่างเดียวไม่พอ แต่เพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วย เช่น เครื่องปรับอากาศก็มีฟังก์ชั่นใหม่ๆ มาทำตลาด รวมทั้งหมวดตู้เย็น เพิ่มไลน์อัพสินค้าในกลุ่ม Multi Door มีไซส์ใหญ่มากขึ้น มีช่องแช่เย็น มีการกักเก็บสินค้าปรับเปลี่ยนได้หลายรูปแบบทั้งในส่วนของสัดส่วนการตลาดด้วย

เครื่องซักผ้า จากเดิมเน้น 2 ถัง ตอนนี้เพิ่มฝาบน มีลูกบอลช่วยทำความสะอาดตัวถัง ให้ทุกๆ การทำงาน มีกระบวนการขัดถัง ให้ผู้บริโภคซักเสื้อผ้าสะอาดขึ้นไม่ส่งผลต่อผิวหนังผู้ใช้งาน ในส่วนของทีวี พัฒนารูปแบบสินค้ามากขึ้น ในกลุ่มไซส์ใหญ่ ตลาดโตมากขึ้น ขนาด 50 นิ้ว, 55 นิ้ว และ 65 นิ้ว แพลตฟอร์มที่เป็นแอนดรอยด์ 11 ก็มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วย

ในส่วนของตัวแช่ ช่วง 4-5 ปีที่แล้วทำตู้แช่นมแม่ส่วนใหญ่ คือไซส์เล็ก พอเจอโควิด ผู้บริโภคสนใจซื้อสินค้าพวกนี้มากขึ้น รวมทั้งระดับไฮเอนด์ เช่น ตู้แช่ไวน์ การบริโภคหรือดื่มไวน์ก็เพิ่มมากขึ้น ตู้แช่ไวน์ขาวและไวน์แดงของแบรนด์ก็ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นด้วย

ปี 2023 มีแผนอะไรเพิ่มบ้าง

ผู้บริโภคน่าจะมีกำลังซื้อมากขึ้น รวมทั้ง IoT จะเข้าใกล้ผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้น จึงเพิ่มสินค้าสมาร์ทโฮม สมาร์ทโปรดักส์เพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ Candy และ Yudee

แบรนด์ Candy

เป็นแบรนด์ที่มาจากทางฝั่งยุโรป มีการออกแบบที่เรียบง่าย ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น จะเน้นออนไลน์ และเป็นอันดับ 1 ของแพลตฟอร์มออนไลน์ ปีนี้ 430 ล้านบาท ปีหน้า 500 กว่าล้านบาท เติบโต 20% ปีนี้มีสินค้า 7 ประเภท จะเพิ่มมากขึ้นในปีหน้า จะใช้การสื่อสารผ่าน KOL ให้คนรู้จักมากขึ้น

แบรนด์ Yudee

เราจะควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชัน Yudee สามารถผ่อนชำระผ่านแอปได้ ต้องการให้คนไทยส่วนใหญ่สัมผัสประสบการ์ณสินค้า IoT ปัจจุบันมี 5 ผลิตภัณฑ์ 8 โมเดล ปีหน้าจะขยายไป 14 โมเดล จะลงทุน 24 ล้านบาท เพื่อทำ Marketing ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์

สาเหตุที่ทำให้ Haier ครองอันดับ 1 ของโลกเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านคือ ลูกค้ายอมรับ องค์กรมีการ R&D สินค้ามาตลอด ศึกษาความต้องการผู้บริโภคมาตลอด ทำให้เป็นแบรนด์อันดับ 1 ของโลก 13 ปีซ้อนจนถึงปัจจุบัน

การบุกตลาดของแบรนด์ Candy นั้น สาเหตุที่ขยายไปที่ SE. Asia พฤติกรรมผู้บริโภคหนุ่มสาวเปลี่ยนแปลง และชอบซื้อของออนไลน์ ภายใน 2 ปีนี้จะขยายไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ปัจจัยที่โตสวนตลาด 19% เนื่องจาก Haier มีแบรนด์ที่ทำตลาดในมือถึง 4 แบรนด์ด้วยกัน แต่ละแบรนด์สามารถควบคุม segment ของตลาดได้ เมื่อเทียบสัดส่วนการลงทุนของไทยกับประเทศอื่นในอาเซียน Haier ลงทุนประเทศในไทยมากที่สุดตามด้วย เวียดนามและอินโดนีเซียที่จะทำตลาดอิงความต้องการผู้บริโภคเป็นหลัก

ส่วนนโยบาย Zero Covid นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อบริษัท ถึงทำให้เติบโตสวนตลาดตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา