ทำดีมากเจ้าทาสแมว! เผยเทรนด์ปี 2565 ตลาดคนเลี้ยงหมา โตช้ากว่า “คนเลี้ยงแมว”

Kantar เผยเทรนด์ปี 2565 ตลาดคนเลี้ยงหมา โตช้ากว่าแมว ทั้งยอดขายอาหาร-จำนวนครัวเรือนที่เลี้ยง เกาะกระแส Pet Humanization

Kantar บริษัทวิจัยชั้นนำด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เปิดรายงาน Kantar: Thailand Pet Food Market Trends โดย Kantar สังเกตตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงมานานกว่าทศวรรษ พบว่าตลาดเติบโตอย่างแข็งแกร่งในหลายมิติ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผู้ซื้อมากขึ้น และผู้เล่นที่มากขึ้น สิ่งนี้ได้รับแรงหนุนจากเทรนด์ที่เรียกว่า “Pet Humanization” โดยที่ผู้คนในปัจจุบันมักจะมีลูกน้อยลงและแทนที่โดยการมีสัตว์เลี้ยงเช่นสุนัขหรือแมว ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยที่อัตราการเกิดลดลงแต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก

Pet Humanization คือการที่เจ้าของถือว่าสัตว์เลี้ยงของพวกเขาเป็นสมาชิกภายในครอบครัว ครัวเรือนเหล่านี้มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างคล้ายกับครัวเรือนที่มีเด็ก โดยซื้อผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดเพราะต้องการเลี้ยงพวกเขาให้ดี สิ่งนี้ทําให้ภาคอาหารสัตว์เลี้ยงมีโอกาสในการขยายตัวจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นสําหรับแบรนด์ใหญ่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร 

ทําไมผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารควรมุ่งเน้นไปที่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง?

แน่นอนพวกเขามีความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอยู่แล้ว พวกเขายังมีผลพลอยได้จากการผลิตอาหารมนุษย์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้สําหรับอาหารสัตว์เลี้ยง อีกมุมคือการสนับสนุนด้านความยั่งยืนเช่น การลดปริมาณขยะอาหาร เพื่อให้เข้าใจถึงภูมิทัศน์ของตลาดและโอกาสที่แบรนด์ต่างๆ จะเข้าสู่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาคําถามสําคัญสี่ข้อ ใครคือผู้ซื้อ โอกาสทางการตลาดเป็นอย่างไร ผู้บริโภคกำลังซื้ออะไร และพวกเขาซื้อที่ไหน

Kantar เผย 4 เทรนด์ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง

  1. ครัวเรือนที่มีแมวเติบโตเร็วกว่าครัวเรือนที่มีสุนัข 

จากข้อมูลของ Kantar Worldpanel ในประเทศไทย ที่ได้รวบรวมโปรไฟล์ของแต่ละครัวเรือนรวมไปถึงจํานวนสมาชิก รายได้ครัวเรือน การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง และไม่ว่าจะมีแมวหรือสุนัขหรือทั้งสองอย่าง พบว่าจํานวนครัวเรือนที่เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น หากเทียบไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 กับไตรมาสที่ 3 ปี 2021 และหากเรามองลึกเข้าไปในระดับภูมิภาค จํานวนครัวเรือนที่มีสัตว์เลี้ยงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเติบโตเร็วกว่าในพื้นที่อื่นๆ 

  1. ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงมีมูลค่ายอดขายโดยรวมเติบโตขึ้น

แม้ว่าจะมีครัวเรือนที่มีสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นแต่ปัจจุบันมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่ซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงแบบบรรจุหีบห่อ ทําให้ยังมีช่องว่างของโอกาสที่จะเข้าสู่ตลาด ภาคอาหารแมวมีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีการแย่งชิงส่วนแบ่ง โดย 8 แบรนด์ครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 80% ในขณะที่อาหารสุนัขมีผู้เล่นหลักอยู่ 5 ราย เจ้าของแมวยังซื้อสินค้าแบรนด์มากกว่าเจ้าของสุนัข ในขณะที่แบรนด์หน้าใหม่จํานวนมากเกิดขึ้น ผู้บริโภคยังคงซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงโดยเฉลี่ย 2 แบรนด์ต่อปี การเติบโตของผู้ซื้อส่วนใหญ่มาจากอาหารแมว ในขณะที่อาหารสุนัขนั้นฐานผู้ซื้อกําลังหดตัว อย่างไรก็ตามมูลค่ายอดขายยังคงเพิ่มขึ้นในตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงโดยรวม ความหมายคือผู้ผลิตที่ต้องการเข้าสู่ตลาดจะต้องมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปสำหรับอาหารสุนัขและอาหารแมว

  1. เทรนด์ Premiumization กับแบรนด์อาหารสุนัขและอาหารแมว

อาหารแห้งกำลังครองตลาด ในขณะที่อาหารแมวแบบเปียกถูกซื้อมากกว่าอาหารสุนัขแบบเปียก แต่สัดส่วนยังน้อยกว่า 15% อย่างไรก็ตาม อาหารแมวแบบเปียกนั้นเติบโตเร็วกว่าอาหารแห้ง ซึ่งบ่งชี้ว่าแบรนด์ควรใส่ใจกับสินค้ารูปแบบนี้และเจาะลึกถึงสาเหตุของพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งอาหารแมวและสุนัขกําลังมีแนวโน้มให้พรีเมียมขึ้น โดยกลุ่มระดับพรีเมียมและซุปเปอร์พรีเมียมเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่สุด ในขณะที่อาหารรูปแบบตักซึ่งเคยเป็นที่นิยม แต่ตอนนี้ผู้ซื้อกําลังเปลี่ยนไปใช้รูปแบบบรรจุภัณฑ์แทน

Pouring pet food into a bowl
  1. Hypermarket และ Convenience Store กำลังเติบโต ออนไลน์น่าจับตามอง

Pet Shop และ Provision Store เป็นช่องทางสำคัญสําหรับอาหารสัตว์เลี้ยง โดยครองส่วนแบ่งมูลค่ายอดขายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Modern Trade โดยเฉพาะ Hypermarket และ Convenience Store กําลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ออนไลน์ก็มีความสําคัญเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยผู้ซื้อมักจะเลือกช่องทางนี้เมื่อพวกเขาต้องการกันตุน ในการเข้าสู่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย แบรนด์ต่างๆ จะต้องเตรียมพร้อมสําหรับการจัดจําหน่ายทั้งใน Modern Trade รวมไปถึง Ecommerce และช่องทางการค้าแบบดั้งเดิม

ที่มา – Kantar

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

บาส รชต สนิท - นักข่าว นักเขียน ที่ Brand Inside | สนใจด้าน Future of Work, สิทธิคนทำงาน, สิ่งแวดล้อม, การเมืองโลก, ปัญหาทุนนิยม และ สิทธิมนุษยชน