เห็นบิลค่าไฟเดือนนี้เเล้วหลายคนต้องตกใจกับค่าไฟที่ขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งๆที่ก็ใช้ไฟเท่าเดิม ซึ่งเมื่อนำบิลค่าไฟมาดูเเล้วจะพบว่า มีตัวเลขที่หนึ่งเปลี่ยนแปลงไป เเละปรากฎอยู่ในบิลค่าไฟก็คือ ค่า FT
โดยข้อมูลจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ระบุว่า ผู้ใช้ไฟทุกคนจำเป็นต้องจ่ายค่า FT เพราะว่าค่า FT เป็นต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้า ประชาชนในฐานะที่ผู้ใช้ไฟพอใช้ไฟครบเดือน จะได้รับบิลเก็บค่าไฟซึ่งในบิลจะมีรายละเอียดต่างๆของค่าใช้จ่าย อย่าง ค่าบริการรายเดือน ค่า FT ก็คือค่าไฟฟ้าผันเเปร ค่าภาษี เเล้วก็สุดท้ายก็เป็นค่าไฟสุทธิที่เราต้องจ่าย
ค่า FT คืออะไร
ค่า FT คือค่าไฟฟ้าผันเเปรที่เปลี่ยนเเปลงไปจากค่าเชื้อเพลิงที่กำหนดไว้ เเละก็ค่าใช้จ่ายเชิงนโยบาย กลไกของการพิจารณาค่าไฟฟ้า จะเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือหนึ่ง ค่าไฟฐานก็คือค่าไฟที่การไฟฟ้ากำหนดอัตราเรียกเก็บ ตามบ้านอยู่อาศัยต่างๆ ก็จะมีอัตราว่าใช้กี่หน่วย ต้องจ่ายเท่าไหร่
แล้วก็ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปจากฐานค่าไฟก็ คือ ค่า FT ส่วนใหญ่ มาจากค่าผันเเปรที่เปลี่ยนไปจากฐานหลักๆ เช่น เรื่องการใช้เชื้อเพลิงเพราะว่าบ้านเรา ต้องอาศัยเชื้อเพลิงมาจากต่างประเทศ ก็ทำให้ค่าเชื้อเพลิงไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดก็จะสะท้อนลงในค่า FT ซึ่งค่า FT จะเปลี่ยนแปลงมากเปลี่ยนเเปลงน้อยขึ้นอยู่กับค่าของเชื้องเพลิง ซึ่งในช่วงเเรกค่า FT กำหนดมาเป็นเรื่องของค่าเชื้อเพลิงอย่างเดียว ตอนหลังก็เริ่มมีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงต่างๆก็จะมีเรื่องของนโยบายค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนโยบายภาครัฐ
ทำไมต้องมีค่า FT
สำหรับค่าไฟฟ้าผันเเปรเป็นกลไกหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นต้นทุนค่าไฟ ซึ่งอัตราค่าไฟจะมีการประกาศไว้ล่วงหน้า ค่าไฟฟ้าฐานก็ประกาศล่วงหน้า 4-5 ปีก็จะมีการปรับที
ค่าFT ก็มีการประกาศล่วงหน้าประมาณ 4 เดือนเช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้ไฟก็ทราบล่วงหน้าว่าสิ้นเดือนนี้จะต้องจ่ายค่าไฟเท่าไหร่ก็คือเป็นอัตราที่เรียกว่าประมาณการไว้ เเละก็แจ้งล่วงหน้า
หลังจากผ่านไป 3 เดือนจะมาดูว่าค่าใช้จ่ายจริงๆมันเป็นเท่าไหร่หากFT ที่เราประเมินไว้ก็เก็บล่วงหน้าจริงๆแล้วเปลี่ยนแปลงมากน้อยเท่าไหร่ ก็จะนำมาเรียกว่าทบทวนแล้วพิจารณาการปรับลดค่า FT ในรอบการปรับถัดไป
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา