“โลกร้อน” ภัยใกล้ตัวที่ต้อง “เร่งรับมือ”  เปิดโมเดลเครือซีพีกับภารกิจสู่ Net Zero ในปี 2050 

ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นพายุ น้ำท่วม ไฟป่า ล้วนเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบสุดขั้ว และเป็นสัญญาณบอกย้ำว่า “วิกฤตโลกร้อน” นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น คือ “ของจริง” ที่ไม่อาจนิ่งนอนใจได้

net zero

จะเป็นอย่างไรถ้าอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส?

กลายเป็นคำถามที่เหล่าผู้นำทั่วโลกมีความกังวล ทำให้ในปีที่ผ่านมาผู้นำนานาประเทศ รวมถึงผู้นำของประเทศไทยได้ประกาศคำมั่นในเวทีการประชุม COP 26 ว่าจะดำเนินการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ด้วยการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส โดยใช้วิธีการพยายามตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ในการป้องกันความหายนะภัยสภาพอากาศอย่างจริงจังและเร่งด่วน

ถือเป็นการคิกออฟส่งสัญญาณให้ทุกภาคส่วนต้อง “เร่งลงมือ” ปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้กับชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชนที่เป็น “ผู้เล่นสำคัญ” ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อนที่เป็นวาระของโลก

เครือซีพีโดยการนำของซีอีโอศุภชัย เจียรวนนท์  เอกชนไทยที่ได้รับคัดเลือกติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนของโลก UNGC ระดับ LEAD ในปีที่ผ่านมา ได้นำทัพธุรกิจในเครือซีพีทั่วโลกร่วมแก้วิกฤตโลกร้อนด้วยการประกาศยุทธศาสตร์ความยั่งยืนขององค์กรสู่ Carbon Neutral ภายในปี ค.ศ. 2030  และตั้งเป้าบรรลุ Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050  

ทำไม “ภาคธุรกิจ” ต้องเร่งคุมอุณหภูมิโลก

การรับมือวิกฤตโลกร้อนที่ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกคน ทุกภาคส่วน เพราะวันนี้การทำธุรกิจมีความเกี่ยวโยงกับสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม  เราต้องบริหารจัดการธุรกิจให้มีความสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤต Climate Change นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ  นี่สิของจริง และจะไม่หยุด ถ้าพวกเราไม่หยุด ทุกวันนี้โลกเป็นโรคร้าย เพราะอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ตอนนี้หลายประเทศมีความกังวลว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแบบ Extreme Weather คือ เวลาหนาวก็หนาวจนฆ่าคนตาย หน้าร้อนร้อนจนฆ่าคนได้ 

นี่คือจุดเริ่มต้นที่ UN ประกาศตั้งเป้าในข้อตกลงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 2015 ให้ควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส เพราะถ้าโลกมีอุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนด จะส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลเพราะปีที่ผ่านมาพบว่าอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 องศาเซลเซียส ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดลดลง 10%  ถ้าวันนี้พวกเราไม่ทำอะไรกันเลย อุณภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนอาหารของผู้คนในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2050 ประชากรโลกจะสูงขึ้นเกือบหมื่นล้านคน คำถามคือ จะเกิดอะไรขึ้นหากพลเมืองโลกเพิ่มขึ้นในขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรที่มาทำอาหารให้กับมนุษย์มีแนวโน้มลดลง 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้นำระดับโลกพูดกันคือ “ทุกวันนี้เราใช้ทรัพยากรในโลกแบบขโมยมาจากอนาคต” ดังนั้นภาคธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญมาก เปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนโลกใบนี้  องค์กรต้องปรับมุมมองในการทำธุรกิจที่ไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความรับผิดชอบและสร้างความสมดุลในทุกมิติของความยั่งยืน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องไปด้วยกัน ไม่เช่นนั้นโลกจะอยู่ไม่ได้ แล้วลูกหลานของเราจะเป็นอย่างไร นี่คือสิ่งสำคัญที่ภาคธุรกิจจะต้องร่วมมือกับทุกคนจะช่วยกันรักษาโลกใบนี้ เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา”  

เครือซีพีกับเป้าหมาย “Net Zero” ในปี 2050

เป็นเวลากว่า 6 ปี หลังจากที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพีได้ปักหมุดนำธุรกิจใน 21 ประเทศทั่วโลกประกาศเป้าหมายความยั่งยืนเมื่อปี ค.ศ. 2016 ถือเป็นองค์กรเอกชนลำดับต้นๆ ที่กล้าวางเป้าหมายความยั่งยืนที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม จนทำให้ในปี ค.ศ. 2021 เครือซีพีได้รับคัดเลือกติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UNGC ระดับ LEAD ขณะเดียวกันเครือซีพียังได้เร่งเดินหน้าวางเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนสู่ปี ค.ศ.2030 รวมทั้งสิ้น 15 เป้าหมายภายใต้ 3 เสาหลักคือ Heart – Health – Home ทั้งนี้ในช่วงผ่านมาได้ดำเนินการสำเร็จไปแล้ว 12 เป้าหมายและในปีนี้เราเพิ่มเป้าหมายมาอีก 3 เป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ในอีก 8 ปีข้างหน้า

cp

“เป้าหมายความยั่งยืนจะทำให้สำเร็จได้ ผู้นำมีส่วนสำคัญอย่างมาก คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือซีพีมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางบวกให้กับโลกใบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่จะร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน จึงได้เร่งให้พนักงาน 4 แสนคนในกลุ่มธุรกิจของเครือฯ ทั่วโลกลงมือทำอย่างจริงจังและเร่งด่วนในการนำพาองค์กรสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ.2030  และการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2050  แม้จะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่เครือซีพีต้องทำให้สำเร็จให้ได้” 

ในปีที่ผ่านมาเครือซีพีได้เปิดเผยผลการดำเนินงานจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน 100% ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่องค์กรทั่วโลกนำมาคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยแบ่งเป็น 3  Scope หลักคือ Scope 1 กิจกรรมในองค์กรและยานพาหนะของกลุ่มธุรกิจในเครือซีพีที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต้องรับผิดชอบคิดเป็น 3% ในส่วน Scope 2 คือปริมาณไฟฟ้าที่ซื้อ ความร้อน ไอน้ำและความเย็นที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต้องรับผิดชอบคิดเป็น 9% และส่วนสุดท้ายคือ Scope 3 เป็นการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำยันปลายน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวโยงกับกลุ่มคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสีย เช่น สินค้าที่คู่ค้าผลิต การขนส่งสินค้าและกระจายสินค้าที่จะต้องรับผิดชอบคิดเป็น 88% 

อย่างไรก็ตามผู้บริหารและพนักงานในเครือซีพีได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ใน scope 1 และ scope2  ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร ทำให้ในปีที่ผ่านมาเครือซีพีสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1.07 ล้านตันขณะเดียวกันก็เริ่มดำเนินการใน scope 3 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ใหญ่และท้าทายอย่างมาก แต่เครือซีพีจะไม่ละความพยายาม สิ่งสำคัญจะต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน รวมไปถึงส่งเสริมให้ธุรกิจในเครือฯ ดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในองค์กร ลดการเกิดของเสีย นำมาสู่การเพิ่มมูลค่า การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ รวมไปถึงการลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการทำธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานร่วมกันปลูกต้นไม้ยืนต้นเพื่อช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนสนับสนุนเกษตรกรเพื่อหาวิธีลดก๊าซเรือนกระจกในการเพาะปลูก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายใหญ่ขององค์กรสู่ Net Zero ในปี 2050 

cp

โลกเปลี่ยนธุรกิจต้อง “ปรับ” : เปิด 5 Key Success เครือซีพีสู่ความยั่งยืน

ในเวที World Economic Forum 2022 แวดวงนักธุรกิจได้มีการวางเป้าหมายอย่างเอาจริงเอาจังในการหาแนวทางลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำอย่างไรเพื่อไม่ให้อุณหภูมิไปถึง 2 องศาเซลเซียล ทำให้หลายธุรกิจพยายามคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อที่จะช่วยกันแก้ปัญหาและมองไปถึง “การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” หรือ Climate Change Adaptation 

ในการหามาตรการจะปรับเปลี่ยนหาแนวทางอย่างไรที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น หากน้ำจะท่วมโลกจะต้องทำอย่างไร เทคโนโลยีใดจะช่วยได้ หากก๊าซคาร์บอนทะลุชั้นบรรยากาศ ธุรกิจจะต้องปรับอย่างไร ซึ่งถือเป็นสัญญาณสำคัญของภาคธุรกิจที่จะต้องร่วมรับผิดชอบรักษาโลกใบนี้ให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะวันนี้เราต้องยอมรับความจริงว่าวิกฤตโลกรวน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้นมาก ถ้าหยุดไม่อยู่เราจะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดให้ได้  

เพราะฉะนั้นหากจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน เครือซีพีได้มีการวางแนวทาง Key Success สำคัญ 5 ด้านคือ 1.ภาวะผู้นำ Tone at the Top เป็นเรื่องสำคัญ ผู้นำองค์กรจะต้องสร้างความตระหนักรู้และความเชื่อในการทำธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืนให้กับพนักงานและมีส่วนได้เสีย  2.วางเป้าหมายและมีการวัดผลตัวชี้วัดที่ชัดเจน และต้องมีการเปิดเผยผลการประเมินทุกปีเพื่อสร้างความโปร่งใส 3.ต้องมองกลไกทางการตลาดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนจะต้องประเมินความเสี่ยง โอกาส และความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เพราะขณะนี้สหภาพยุโรป (อียู) ได้เผยแพร่ร่างกฎหมายมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ซึ่งธุรกิจของไทยจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตรับกติกาสากลนี้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันธุรกิจในตลาดโลก  4.นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ขณะนี้มีกลุ่มสตาร์อัพคิดค้นเครื่องช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อช่วยแก้โลกร้อน และ 5.สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในแบบ PPP : Public Private Partnership  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการแก้ปัญหาของโลก เราไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ ต้องอาศัยความร่วมมือเชื่อมโยงทุกคนต้องช่วยกัน

เรื่องความยั่งยืนเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในการร่วมรับผิดชอบสังคม ต้องสร้างความเชื่อว่าเราต้องทำมากกว่าเดิม เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิมให้ได้ และจะต้องลงมือทำจริง เห็นเป็นรูปธรรมและวัดผลได้”

ทั้งนี้การลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ประสิทธิภาพต้องอาศัยมาตรการต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น การซื้อขายคาร์บอนเครดิต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นธุรกิจจะต้องปรับตัวไม่เฉพาะการทำธุรกิจเพื่อหวังกำไร เพราะนักลงทุนที่มาร่วมทุนจะมองไปถึงการทำธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสังคมอย่างการระดมทุนเพื่อนำเงินไปใช้ในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในแบบ Green Bond รวมไปถึงภาครัฐอาจจะต้องมีแนวทางในการออกมาตรการภาษีคาร์บอน ซึ่งจะช่วยเร่งการจัดการก๊าซเรือนกระจกให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

cp

ตอบแทนโลก 2 เมตร เริ่มจากตัวเราเองเพื่อทุกคน

เครือซีพีได้เปิดตัวแคมเปญ “ตอบแทนโลก 2 เมตร” รณรงค์ให้พนักงานบริษัทในเครือซีพี และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหาโลกร้อนผ่านแนวคิด “การตอบแทนโลก เชื่อมต่อกันได้”  ที่อยากจะเชิญชวนให้ทุกคนมาช่วยกัน ร่วมเป็นตัวอย่าง สร้างจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมชวนเพื่อน ชวนคนในครอบครัว มาทำกิจกรรม จากสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวเราใน 2 เมตร เช่น รีไซเคิลพลาสติก  การไม่สร้างขยะจากเศษอาหาร รวมไปถึงปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว 

 “ทุกวันนี้บางคนคิดว่าเราเป็นเหยื่อของสิ่งแวดล้อม เพราะความอยากของมนุษย์ไม่มีวันจบ แคมเปญตอบแทนโลก 2 เมตร  จะชวนให้เลิกคิดแบบนั้น และมาชวนให้ปรับมุมคิดว่าเราสามารถกำหนดอนาคตของตัวเราเองได้ เริ่มต้นง่ายๆ จากทำกิจกรรมที่เป็นผลบวกกับโลกรอบตัวเราในระยะ  2 เมตรให้ดีขึ้น กินอยู่อย่างพอดีพอควรไม่ใช่แค่เพื่อตัวเราเอง แต่เพื่อทุกคน เพราะการตอบแทนโลกทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบและทุกคนมีส่วนช่วยกันเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้  สิ่งสำคัญต้องเริ่มที่ตัวเราเองดีที่สุด ให้ไม่เป็นคนก่อปัญหา ไม่ใช่ตัวถ่วงของโลก ทุกคนมี 2 เมตรเท่ากัน ไม่ว่าจะรวย จน เป็นคนแก่ หรือเด็ก ทุกคนเท่าเทียมกัน ดังนั้นในทุกวินาทีเราสามารถตัดสินใจได้ว่าเราจะช่วยโลกใบนี้ได้อย่างไร” 

สรุป

ภาคธุรกิจอย่างเครือซีพีกลายเป็นผู้เล่นสำคัญในการขับเคลื่อนช่วยแก้วิกฤตโลกร้อนด้วยการทำธุรกิจให้เกิดความสมดุลในทุกมิติของความยั่งยืนสู่การนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ซึ่งปัญหาการลดอุณหภูมิของโลกไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ต้องอาศัยความร่วมมือในหลายภาคส่วนที่จะต้องช่วยกันเร่งมือตอบแทนโลกให้ดีขึ้น เริ่มต้นจากตัวเราเองในระยะ 2 เมตร และบอกต่อคนรอบข้างและขยายไปถึงสังคมและประเทศ สร้างการเปลี่ยนแปลงทางบวกให้กับโลกใบนี้เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา