นาทีนี้ หลายธุรกิจเริ่มรับรู้ได้ถึงสภาพรวมของเศรษฐกิจทั้งในไทยและทั่วโลกว่ามีปัญหาอยู่ไม่น้อย สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ด้วยเงินทุนและการวางแผนระยะยาว อาจช่วยให้ผ่านช่วงเวลายากลำบากไปได้ แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SME อาจจะเป็นคนละเรื่องกัน
ลองดูกันว่า มีปัจจัยลบอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ สรุปแบบเข้าใจง่าย ดังนี้
วิกฤตความขัดแย้งและสงคราม
สำหรับ SME ที่ติดตามข่าวสารรอบโลกจะเห็นว่า ความขัดแย้งที่ชัดเจนที่สุดคือสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบไม่ใช่เฉพาะในยุโรป แต่ไปถึงทั่วโลกรวมถึงไทยด้วย ตั้งแต่มิติของการนำเข้า-ส่งออก สินค้าไปรัสเซีย-ยูเครน และประเทศใกล้เคียง บรรยากาศ ความเชื่อมั่น ราคาต้นทุนวัตถุดิบสินค้าที่มีแนวโน้มขาดแคลน
ต่อให้ SME ไม่ได้ส่งออก ไม่ได้นำเข้าวัตถุดิบ แต่ก็ได้รับผลกระทบทางอ้อมอยู่ไม่น้อยจากบรรยากาศของสงคราม
ยิ่งล่าสุด มีความขัดแย้งที่ระอุขึ้นมาของ จีน-ไต้หวัน จากกรณีที่สหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการ กรณีนี้หลายคนอาจไม่เข้าใจ อธิบายสั้นๆ ว่า จีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจะมาพบไต้หวันโดยตรงไม่ได้ ดังนั้นความขัดแย้งจึงเพิ่มดีกรีขึ้น จนมีข่าวว่าจีนจะซ้อมรบในพื้นที่ใกล้กับไต้หวัน ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนมาก
จากโควิดจนถึงกำลังซื้อที่หดตัว
โรคระบาดอย่างโควิด-19 อยู่กับเรามาหลายปีแล้ว และคาดว่าจะอยู่ต่อไปอีกหลายปีด้วย แม้จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง ความรุนแรงของโรคจะลดลง แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังส่งผลอยู่ มองย้อนกลับไป ปี 2020-2021 หลายธุรกิจปิดตัว SME หลายแห่งต้องหยุดการทำธุรกิจจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลเพื่อจำกัดผลกระทบจากโควิด
จนถึงปัจจุบันหลายธุรกิจฟื้นตัวแล้ว หลายธุรกิจยังอยู่ระหว่างการพยายามกลับมา และหลายธุรกิจปิดตัวลงไป สิ่งที่เป็นผลตามมาคือ คนตกงาน มีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่ตกงาน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2565 แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นจากช่วงโควิดระบาดก่อนหน้านี้ แต่พบว่ามีผู้ว่างงานกว่า 0.76 ล้านคน คิดเป็น 2.0% ของอัตราการว่างงานเทียบกับก่อนหน้านี้ ถือเป็นอัตราการจ้างงานที่ลดลง คิดเป็นสัดส่วน 2.2% นอกจากนี้เวลาในการจ้างงานก็น้อยลง แปลว่ามีคนกว่า 3 ล้านที่ทำงานน้อยลงจากเดิม ทำให้รายได้น้อยลงส่งผลให้กำลังซื้อหดตัว
กำลังซื้อที่หดตัว ก็เหมือนลูกค้าไม่มีเงินมาจับจ่ายใช้สอย การตัดสินใจซื้อยากขึ้นอาจชะลอออกไปถ้าไม่จำเป็น ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ของ SME เช่นกัน
เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ถ้าเงินเฟ้อเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจดี แปลว่าคนมีเงินแต่ราคาสินค้าสูงขึ้น คนก็ยังซื้ออยู่ แต่เวลานี้ตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้น ไทยอยู่ที่ระดับ 6-7% ทั่วโลกก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่เศรษฐกิชะลอตัว เป็นไปได้ว่าเงินเฟ้อเกิดขึ้นจากต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าราคาแพง แต่คนก็ยังไม่มีเงิน
และนั่นทำให้หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา รวมถึงไทยต้องตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.75% ซึ่งคาดว่าจะมีผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่เศรษฐกิจก็ชะลอตัวด้วยเช่นกัน เพราะดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ลดลง
เรื่องนี้จะส่งผลต่อ SME โดยตรง เพราะอัตราดอกเบี้ยจากการขอสินเชื่อหรือกู้เงินจะสูงขึ้น โอกาสเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินก็มากขึ้นตามไปด้วย
สภาพคล่องทางการเงินที่เสียไป ปัญหาใหญ่ของ SME
สำหรับ SME ซึ่งมีสายป่านที่จำกัดหากเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่ เมื่อเจอปัญหาหลายด้านเข้ามาพร้อมกัน อยากทำธุรกิจต่อแต่ก็ทำไม่ได้ เมื่อถึงเวลาที่จะทำได้แต่เศรษฐกิจก็ชะลอตัว
แต่ SME จำนวนไม่น้อยที่สามารถปรับตัวได้ ยืนหยัด ต่อสู้ และอยู่รอดวิกฤตที่ผ่านมา แต่สุดท้ายจะเจอปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นต่อให้อยากได้โอกาสพลิกสถานการณ์ก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีเงินหมุนเวียนในการทำธุรกิจ เงินทุนไม่หนาแบบรายใหญ่ รายจ่ายประจำยังอยู่ จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็ไม่ได้ง่าย
เรียกว่าต่อให้ SME ที่เตรียมตัวมาอย่างดี เคยธุรกิจเติบโตในช่วงก่อนหน้านี้ ก็มีโอกาสล้มได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หนึ่งในทางออกของปัญหาทั้งหมด นอกจากแผนธุรกิจรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น การปรับตัวที่รวดเร็วแล้ว การมีเงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่อง คือ โอกาสในการยืดชีวิตของ SME ที่จะกลับมาพลิกฟื้นได้อีกครั้ง
CPF x BBL เสริมสภาพคล่อง… เคียงข้างคู่ค้า
เมื่อรู้แล้วว่าหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้ SME อยู่รอดพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ คือ การมีสภาพคล่องเงินหมุนเวียน ดังนั้น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้ร่วมกับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มอบสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้นให้กับ SME คู่ค้าของ CPF มีอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ต้นทุนต่ำ ให้วงเงินสูง อนุมัติไวภายใน 3 วัน โดยสามารถเบิกใช้วงเงินได้มากถึง 90% ตามข้อมูลการค้าที่ธนาคารได้รับ และที่สำคัญไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ดังที่กล่าวมาทั้งหมด อุปสรรคของ SME คือ ขาดเงินทุนหมุนเวียน และยังเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ลำบาก นี่จึงเป็นโครงการที่มาแก้ Pain point ได้ตรงจุด เพราะจุดเด่นคือ รับเงินเร็วเบิกใช้ได้ทันที ทยอยเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ชำระหนี้ได้ทุกวันไม่ต้องกังวลเรื่องดอกเบี้ย และสามารถตรวจสอบวงเงินสินเชื่อออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูลโครงการได้ที่: https://www.cpfworldwide.com/th/media-center/list/cpfxbbl
สรุป
หลายธุรกิจยากที่จะฟื้นตัว แม้จะมีแผนธุรกิจที่พร้อม มีการปรับตัวเป็นอย่างดี แต่ขาดแรงสนับสนุนทางการเงิน ดังนั้น นี่จึงเป็นโครงการที่ให้โอกาส และต่อยอดให้ SME ที่เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจไทยอยู่รอดและกลับมาเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา