ครม. อนุมัติกรอบวงเงิน 10,974 ล้านบาท เพื่อลงทุนก่อสร้งสวนสัตว์แห่งใหม่ (คลองหก) ปทุมธานี บนที่ดินพระราชทาน 300 ไร่ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 วงเงินเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2566 จำนวน 1,109.07 ล้านบาท โดยการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ
การก่อสร้างโครงการสวนสัตว์แห่งใหม่ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 มีมูลค่าการก่อสร้าง 5,383.82 ล้านบาท (ครม. เห็นชอบแล้วเมื่อ 11 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา)
- ระยะที่ 2 มีมูลค่าก่อสร้าง 4,340.16 ล้านบาท เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะมีวงเงินโครงการทั้งสิ้น 10,974.65 ล้านบาท
ทำเนียบรัฐบาลระบุว่า โครงการสวนสัตว์แห่งใหม่ (คลองหก) จะเป็นสวนสัตว์ที่ทันสมัยระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ชีวิตสัตว์ป่า การอนุรักษ์ ศึกษาวิจัยและเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งนันทนาการรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการตั้งอยู่ที่ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี บนที่ดินพระราชทาน 300 ไร่ คาดว่าจะเปิดให้บริการในระยะแรกปี 2569 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2571 เป็นต้นไป
แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังนี้
- พื้นที่จัดแสดงสัตว์และนิทรรศการ 171 ไร่
- พื้นที่ป้องกันน้ำท่วมและถนน 42 ไร่
- พื้นที่ส่วนบริหารและวิจัย 33 ไร่
- พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติ 21 ไร่
- พื้นที่ส่วนกลางและเชิงพาณิชย์ 18 ไร่
- ที่จอดรถ 15 ไร่
*อัพเดตข้อมูลเพิ่มเติม*
หลังทำเนียบรัฐบาลเผยแพร่ข้อมูล การจัดทำโครงการ “สวนสัตว์พระราชทาน” บนพื้นที่ 300 ไร่ ด้วยงบประมาณ 10,974 ล้านบาท เนื้อหาระบุแค่ว่ามีการอนุมัติงบงวดแรกแล้วตั้งแต่ต้นปี ตลอดจนเนื้อหาการใช้ประโยชน์แต่พื้นที่เท่านั้น แต่เอาเข้าจริงเมื่อเปิดดูผลการประชุมของคณะรัฐมนตรี มีรายละเอียดจากโครงการสวนสัตว์พระราชทาน ดังนี้
ประมาณการรายรับโครงการสวนสัตว์พระราชทาน
แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้นรวม 5 ปี จะเปิดให้บริการในระยะที่ 1 ได้ตั้งแต่ปีที่ 4 (พ.ศ. 2569) จากนั้นจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบปีที่ 6 (พ.ศ. 2571) รายรับแบ่งเป็น 7 ประเภท โดยปีที่ 1-3 ยังไม่มีรายได้ในทุกประเภท ปีที่ 4-7 มีรายได้ดังนี้
ปีที่ 4
- รายรับค่าเข้าชม 48.76 ล้านบาท
- รายรับจากการบริการอาหารและเครื่องดื่ม –
- รายรับจากการขายสินค้าที่ระลึก 4.80 ล้านบาท
- รายรับจากการให้เช่าพื้นที่ 12.51 ล้านบาท
- รายรับจากการจัดกิจกรรม –
- รายรับค่าสมาชิกอุปถัมภ์ 20 ล้านบาท
- รายรับค่าสปอนเซอร์ 10 ล้านบาท
รวม 96.07 ล้านบาท
ปีที่ 5
- รายรับค่าเข้าชม 51.20 ล้านบาท
- รายรับจากการบริการอาหารและเครื่องดื่ม –
- รายรับจากการขายสินค้าที่ระลึก 5.09 ล้านบาท
- รายรับจากการให้เช่าพื้นที่ 13.29 ล้านบาท
- รายรับจากการจัดกิจกรรม –
- รายรับค่าสมาชิกอุปถัมภ์ 21 ล้านบาท
- รายรับค่าสปอนเซอร์ 10 ล้านบาท
รวม 100.58 ล้านบาท
ปีที่ 6
- รายรับค่าเข้าชม 161.23 ล้านบาท
- รายรับจากการบริการอาหารและเครื่องดื่ม 16.54 ล้านบาท
- รายรับจากการขายสินค้าที่ระลึก 10.78 ล้านบาท
- รายรับจากการให้เช่าพื้นที่ 44.21 ล้านบาท
- รายรับจากการจัดกิจกรรม 50.74 ล้านบาท
- รายรับค่าสมาชิกอุปถัมภ์ 44.10 ล้านบาท
- รายรับค่าสปอนเซอร์ 10 ล้านบาท
รวม 337.60 ล้านบาท
ปีที่ 7
- รายรับค่าเข้าชม 169.29 ล้านบาท
- รายรับจากการบริการอาหารและเครื่องดื่ม 17.52 ล้านบาท
- รายรับจากการขายสินค้าที่ระลึก 11.42 ล้านบาท
- รายรับจากการให้เช่าพื้นที่ 46.67 ล้านบาท
- รายรับจากการจัดกิจกรรม 60.88 ล้านบาท
- รายรับค่าสมาชิกอุปถัมภ์ 46.31 ล้านบาท
- รายรับค่าสปอนเซอร์ 11 ล้านบาท
รวม 363.09 ล้านบาท
เรื่องพื้นที่
ที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี อยู่ทางทิศตะวันออกจากจังหวัดปทุมธานีห่างจากจังหวัดปทุมธานีประมาณ 30 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับพื้นที่ต่างๆ โดยทิศตะวันออกติดกับพื้นที่สนามกอล์ฟ เดอะ อาร์จี ซิตี้ กอล์ฟคลับและทุ่งนา ทิศเหนือติดกับพื้นที่ชุมชนคลองหกติดคลองรังสิต ถนนซองคลองหกและถนนเลียบคลองรังสิต ทิศใต้ติดกับพื้นที่ติดทุ่งนา ทิศตะวันกตกติดกับพื้นที่ชุมชนคลองหก ถนนซอยคลองหกและคลองหก
การใช้พื้นที่ 300 ไร่
1) พื้นที่จัดแสดงและนิทรรศการ 171 ไร่ หรือ 57% จัดแสดงสัตว์ 5 ส่วน ทวีปแอฟริกา 42 ไร่, ทวีปออสเตรเลียและสวนสัตว์เด็ก 19 ไร่, ทวีปเอเชีย 66 ไร่, ทวีปอเมริกาใต้ 14 ไร่ และอาคาร Terrarium world (จัดสวนขวด สวนแก้วจิ๋ว) และร้านอาหาร 30 ไร่
2) พื้นที่ป้องกันน้ำท่วมและถนน 42 ไร่ 14% เป็นคันดินป้องกันน้ำท่วม
3) พื้นที่ส่วนบริหารและวิจัย 33 ไร่ 11% คืออาคารสำนักงานโรงพยาบาลสัตว์และส่วนวิจัย
4) พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติ 21 ไร่ 7% คือสวนสาธารณะและอาคารเฉลิมพระเกียรติ
5) พื้นที่ส่วนกลางและเชิงพาณิชย์ 18 ไร่ 6% คือส่วนอาคารต้อนรับนิทรรศการ จุดจำหน่ายตั๋ว อาคารโรงอาหาร และลานกิจกรรมอเนกประสงค์
6) ที่จอดรถ 15 ไร่ 5% คืออาคารจอดรถและลานจอดรถ
งบประมาณในการก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะแรก 5,383.82 ล้านบาท
- งานสาธารณูปโภคโครงการ ปรับพื้นที่ตามแนวคิดเกาะนิเวศและจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน 1,142.46 ล้านบาท
- งานอาคาร 8 อาคาร อาคารเฉลิมพระเกียรติ อาคารต้อนรับและอาคารศูนย์การเรียนรู้ อาคารสำนักงานใหญ่ อาคารโรงพยาบาลสัตว์ 1,014.85 ล้านบาท
- งานส่วนจัดแสดง พื้นที่จัดแสดงโซนแอฟริกาประกอบด้วยสัตว์ 18 ชนิดพันธุ์ 155 ตัว พื้นที่โซนเอเชีย 70% สัตว์ 62 ชนิดพันธุ์ 239 ตัวและงาน Smart Zoo ระบบคอมพิวเตอร์ของสวนสัตว์ 2,543.22 ล้านบาท
- งานภูมิสถาปัตยกรรม งานรั้ว งานประตูเข้าออก พื้นที่สถาปัตยกรรมส่วนอาคารต้อนรับ สวนเฉลิมพระเกียรติ ทางเดินชมสัตว์ 683.29 ล้านบาท
ระยะที่สอง 4,340.16 ล้านบาท
- งานสาธารณูปโภคส่วนที่เหลือ ถมดิน ปลูกต้นไม้ 371.90 ล้านบาท
- งานอาคาร 13 อาคาร เช่น อาคารจอดรถยนต์ อาคารศูนย์อาหารและภัตตาคาร อาคารสำนักงานผู้ดูแลสัตว์ ศูนย์ชันสูตรซากสัตว์ โรงจอดรถขนส่งภายในสวนสัตว์ เรือนเพาะชำ 1,561.94 ล้านบาท
- งานส่วนจัดแสดงสัตว์ส่วนที่เหลือ พื้นที่โซนเอเชีย เหลือพื้นที่โซนออสเตรเลีย พื้นที่โซนอเมริกาใต้ สวนสัตว์เด็ก 769.95 ล้านบาท
- งานภูมิสถาปัตยกรรม เช่น อาคารต้อนรับ อาคารสำนักานส่วนที่เหลือตกแต่งคันดินโดยรอบ 205.57 ล้านบาท
- งานอื่นๆ เช่น เตาเผาซากและเตาเผาขยะ Solar Cell ฯลฯ 1,430.80 ล้านบาท
*หมายเหตุ*
โครงการจะเปิดให้บริการระยะแรกตั้งแต่ปีที่ 4 เปิดให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป, มีค่าคุมงาน 291.72 ล้านบาท ค่าซื้อสัตว์ 658.95 ล้านบาท ค่าครุภัณฑ์ 300 ล้านบาท จะเท่ากับกรอบวงเงินงบประมาณรวม 10,974.65 ล้านบาท
สำหรับรายจ่ายคงที่และค่าใช้จ่ายผันแปร แบ่งได้ ดังนี้
ปีที่ 4
ค่าใช้จ่ายคงที่
- ค่าใช้จ่ายเงินเดือน 20.70 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสวนสัตว์ 5.42 ล้านบาท
- ค่าอาหารสัตว์ ค่ายาและค่าดูแลรักษาสัตว์ 4.26 ล้านบาท
- ค่าสาธารณูปโภค 27.76 ล้านบาท
- ค่าวัสดุสิ้นเปลือง 1.50 ล้านบาท
- ค่าซ่อมบำรุงทั่วไป –
- ค่าซ่อมบำรุงและปรับปรุงพื้นที่ –
- ค่าบริหารจัดการการจัดกิจกรรม –
ค่าใช้จ่ายผันแปร
- ค่าบริหารพื้นที่เช่า 0.38 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสมาชิกอุปถัมภ์ 1.00 ล้านบาท
- ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 4.88 ล้านบาท
- ค่าสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น 0.39 ล้านบาท
รวม 66.27 ล้านบาท
ปีที่ 5
ค่าใช้จ่ายคงที่
- ค่าใช้จ่ายเงินเดือน 21.32 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสวนสัตว์ 5.47 ล้านบาท
- ค่าอาหารสัตว์ ค่ายาและค่าดูแลรักษาสัตว์ 4.29 ล้านบาท
- ค่าสาธารณูปโภค 28.01 ล้านบาท
- ค่าวัสดุสิ้นเปลือง 1.51 ล้านบาท
- ค่าซ่อมบำรุงทั่วไป –
- ค่าซ่อมบำรุงและปรับปรุงพื้นที่ –
- ค่าบริหารจัดการการจัดกิจกรรม –
ค่าใช้จ่ายผันแปร
- ค่าบริหารพื้นที่เช่า 0.40 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสมาชิกอุปถัมภ์ 1.05 ล้านบาท
- ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 5.12 ล้านบาท
- ค่าสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น 0.39 ล้านบาท
รวม 67.56 ล้านบาท
ปีที่ 6
ค่าใช้จ่ายคงที่
- ค่าใช้จ่ายเงินเดือน 43.92 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสวนสัตว์ 11.04 ล้านบาท
- ค่าอาหารสัตว์ ค่ายาและค่าดูแลรักษาสัตว์ 8.67 ล้านบาท
- ค่าสาธารณูปโภค 56.54 ล้านบาท
- ค่าวัสดุสิ้นเปลือง 3.06 ล้านบาท
- ค่าซ่อมบำรุงทั่วไป –
- ค่าซ่อมบำรุงและปรับปรุงพื้นที่ –
- ค่าบริหารจัดการการจัดกิจกรรม 10.00 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายผันแปร
- ค่าบริหารพื้นที่เช่า 1.33 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสมาชิกอุปถัมภ์ 2.21 ล้านบาท
- ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 16.12 ล้านบาท
- ค่าสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น 0.89 ล้านบาท
รวม 153.78 ล้านบาท
ปีที่ 7
ค่าใช้จ่ายคงที่
- ค่าใช้จ่ายเงินเดือน 45.24 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสวนสัตว์ 11.14 ล้านบาท
- ค่าอาหารสัตว์ ค่ายาและค่าดูแลรักษาสัตว์ 8.75 ล้านบาท
- ค่าสาธารณูปโภค 57.06 ล้านบาท
- ค่าวัสดุสิ้นเปลือง 3.08 ล้านบาท
- ค่าซ่อมบำรุงทั่วไป –
- ค่าซ่อมบำรุงและปรับปรุงพื้นที่ –
- ค่าบริหารจัดการการจัดกิจกรรม 10.09 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายผันแปร
- ค่าบริหารพื้นที่เช่า 1.40 ล้านบาท
- ค่าบริหารจัดการสมาชิกอุปถัมภ์ 2.32 ล้านบาท
- ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 16.93 ล้านบาท
- ค่าสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น 0.90 ล้านบาท
รวม 156.91 ล้านบาท
มีการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการดังนี้
ไม่มีความคุ้มค่า หากพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนทางการเงินใช้เกณฑ์ ดังนี้
- ระยะเวลาคืนทุน 29.71 ปี หรือ 29 ปี 8.5 เดือน
- มูลค่าปัจจุบันสุทธิ -5,835.35 ล้านบาท
- อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 0.36 เท่า
- อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 0.42% ต่อปี
การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลประโยชน์และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ อัตราคิดลดตามต้นทุนเงินทุนเฉลี่ย 12% ต่อปี มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ดังนี้
- มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 2,309.09 ล้านบาท
- อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.35 เท่า
- อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ 15.1% ต่อปี
ที่มา – ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา