ภาพของร้านค้าที่จำหน่ายดอกกัญชา(อบเเห้ง) ต้นกัญชา อาหารเเละเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของใบกัญชา กันอย่างเสรี ปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ มาตั้งเเต่มีการปลดล็อดให้ “กัญชา” ถูกถอดจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 พรบ.ยาเสพติด เเม้ว่าขนาดนี้ มีการนำร่างพระราชบัญญัติ “กัญชากัญชง” เข้าสู่การพิจารณาของสภา ผ่านวาระเเรกไปแล้ว เเละกำลังตั้งกรรมมาธิการก่อนเข้าวาระสองสาม ต่อไป
หลังการปลดล็อก “ต้นกัญชา” มีเฉพาะประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
“ห้ามขายเเละจำหน่ายให้เด็กแก่เยาวชนและห้ามสูบในที่สาธารณะเท่านั้น ส่วนการมีไว้เพื่อปลูก เสพเเละขาย ไม่ผิดกฎหมาย จึงปรากฏภาพที่จำหน่าย “กัญชา” ให้เห็นทั่วไป
ทีมงาน Brand Inside ได้พูดคุยกับ อาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์ กรรมการบริหารศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ผู้คร่ำหวอด ด้านกฎหมายสุขภาพของประเทศ ถึงกรณี “ช่องว่างของประกาศกระทรวงสาธารณะสุข” ที่ประกาศปลดล็อคให้ “ต้นกัญชา” ถูกถอดจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 พรบ.ยาเสพติด
หากเทียบการค้า “กัญชา” เสรี ในประเทศไทยกับต่างประเทศ
อาจารย์ไพศาล มองว่า ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ก็ยอมรับในทางการเเพทย์ ซึ่งการใช้กัญชาในทางการเเพทย์ของประเทศไทยก็เริ่มมาตั้งเเต่ประมาณปี 2562 โดยเป็นไปตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษ ปี 2522 ที่มีการเเก้ไขปรับปรุงช่วงนั้น มีเรื่องของตำรับน้ำมันกัญชา ตำรับเเพทย์แผนไทย ตอนหลังประกาศเป็นบัญชียาหลักเเห่งชาติ ก็ถือว่ามีความกก้าวหน้า เมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด กัญชาที่ใช้ในทางการเเพทย์ก็ใช้ได้อยู่ เเล้วก็ไม่ได้ไปลบล้างกฎหมายเดิม
“จริงๆคำว่าปลดล็อกกัญชา ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นความเข้าใจผิด คือ รัฐบาลมองว่า กัญชายังเป็นยาเสพติดอยู่ ก็เลยไปปลดออกจากยาเสพติด เพื่อที่จะให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนตัวมองว่าอันตราย” คือตอนที่กัญชายังเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ ในเชิงสันทนาการ เเต่ว่าอนุญาตให้ใช้ในทางการเเพทย์ได้ ภายใต้การควบคุมดูเเลของเเพทย์
พอไปปลดออกจากยาเสพติดก็ทำให้เกิดปัญหา คือ ทำให้เกิดความวุ่นวาย สับสนในทางกฎหมาย แล้วผลกระทบต่อประชาชน ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกได้ โดยใช้วิธีการจดเเจ้ง จะใช้ในทางครัวเรือน ไม่ใช่เเค่ประกอบอาหารอย่างเดียว คือ ถ้าใช้ประกอบอาหารจะใช้ไม่เยอะ มีความเสี่ยงว่าเด็กเเละเยาวชน คนทั่วไปใช้ในเชิงสันทนาการได้ เพราะว่าไม่มีการควบคุม
“ในต่างประเทศอย่างเช่น เเคนนาดา สหรัฐอเมริกา จะเข้มงวดในเรื่องของการปลูกกัญชาในบ้าน คนที่ปลูกในบ้านได้ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ เเล้วต้องจดทะเบียน มีการเฝ้าระวังไม่ให้บุคคลภายนอกมาเห็นว่าเราปลูกกัญชา เเล้วถ้านำไปจำหน่ายจะมีความผิดต้องโทษอาญา เพราะถือว่า ต้นกัญชาเป็นยาเสพติด”
ในต่างประเทศบางประเทศไม่อนุญาตให้ใส่สาร THC ในอาหาร เเละไม่ให้โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา เพราะในต่างประเทศถือว่า “กัญชา” เป็นยาเสพติด ถึงเเม้จะเป็นตัวใบกัญชาก็ตาม จะเน้นใช้ในทางการเเพทย์ เเละศึกษาวิจัย เท่านั้น
ปรากฏภาพให้เห็นมีการจำหน่ายวางขายทั่วไป
ไม่มีผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ตำรวจไม่มีสิทธิมาจับ เเต่ผิดตามกฎหมายอื่น ยังมีพรบ.ในเรื่องของการคุ้มครองภูมิปัญญาการเเพทย์เเผนไทย ที่ประกาศว่าให้ “กัญชา” เป็นสมุนไพรควบคุม ตามมาตรา 46 เมื่อมีการประกาศว่าให้ “กัญชา” เป็นสมุนไพรควบคุม คนที่จะจำหน่ายสมุนไพรควบคุมได้ต้องขออนุญาต ประเด็นคือ กระทรวงสาธารณะสุข ก็ไม่ยอมอออกมาบอกว่า ผิดกฎหมาย
อาหารเเละเครื่องดื่มที่จำหน่ายในร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ
ตอนนี้ไม่ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติอาหารเเละยา สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเด็นพรบ.กัญชากัญชง ที่ออกมา จะครอบคลุมในส่วนผลิตภัณฑ์อาหารเเละเครื่องดื่มด้วยหรือไม่ ก็ต้องติดตาม
ช่องว่างทางกฎหมายใครก็สามารถเข้าถึง “กัญชา” ได้
รัฐบาลต้องเข้มงวดเเละใช้กฎหมายอื่นในการควบคุม อย่างพรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ระบุว่า คนที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้รวมถึงวัตถุดิบด้วย ต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารเเละยา เเละก็จะมีช่องว่าง ที่อ้างได้ว่า ไม่ได้นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร เเต่ใช้เพื่อการเสพ นี้คือในระยะสั้น ส่วนในระยะยาว ต้องแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ “ต้นกัญชา” กลับไปเป็น ยาเสพติดประเภท 5 เหมือนเดิม
ตำรวจไม่มีอำนาจในการจับกุม
ประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข ที่บอกว่า ห้ามสูบในที่สาธารณะ ควันที่พ้นออกมา ถือเป็นเหตุรำคาญ ตำรวจไม่มีอำนาจไปจับกุมคนที่สูบ เพราะตำรวจไม่มีอำนาจตามกฎหมาย การยาสูบ คนที่มีอำนาจคือ เจ้าพนักงานท้องถิ่น นายกอบจ. นายกอบต. นายกเทศบาล ผู้ว่ากทม. ผู้ว่าเมืองพัทยา คือต้องมีคนมาเเจ้งก่อน และทำหนังสือเตือน ถ้าไม่ยอมทำตามคำสั่ง ถึงมีอำนาจสั่งปรับ หรือ ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ผลกระทบตกอยู่ที่เด็กเเละเยาวชน
เด็กเเละเยาวชนกินอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา บางทีกินเข้าไปไม่รู้ตัวก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งทางคุณหมอก็มีความกังวลในเรื่องนี้
ในทางการเเพทย์ใช้ “กัญชา” ควบคุม เข้มงวด
โรคเเพทย์ปัจจุบันที่ใช้กัญชาเข้ามาบรรเทาอาการ มี 5-6 โรค เป็นไปในกรณีที่ใช้ยาเเพทย์เเผนปัจจุบันไม่ได้ผลเเล้ว เเละต้องอยู่ในความดูเเลของเเพทย์ด้วย เช่น อาการอาเจียนจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง โรคลมชัก
*พรุ่งนี้ติดตามตอน 2 ทีมงาน Brand Inside ได้พูดคุยกับอาจารย์นายเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอายุรศาสตร์ ถึงปัญหา ผลกระทบที่มีต่อร่างกายจะได้รับ หากบริโภคกัญชาเกินขนาด*
สรุป
ทางออกของเรื่องนี้คือ เเก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณะสุขให้ “ต้นกัญชา” กลับไปเป็น ยาเสพติด ประเภท 5 เหมือนเดิม ในต่างประเทศรัฐบาลมีเเต่ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก “กัญชา” ประเทศไทยทำตรงกันข้าม เเจกต้นกัญชาให้ประชาชน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา