เมื่ออาเซียนจะเป็นสวรรค์แห่งใหม่ในอนาคตสำหรับธุรกิจ มาดูกันว่าทำไม กรุงศรี จะเป็นอีกหนึ่งหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดันธุรกิจไทยให้พิชิตตลาดภูมิภาคนี้
อาเซียนสวรรค์ของนักลงทุนในอนาคต
ถ้าเป็นช่วง 10-20 ปี ก่อนหน้านี้ จีนอาจเป็นตลาดที่ใครๆ ก็มองว่าเป็นโอกาสครั้งใหญ่ในการลงทุน แต่ทุกวันนี้ มีหนึ่งตลาดที่นักวิเคราะห์มองว่าเป็นโอกาสแบบเดียวกัน นั่นก็คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน
ทุกวันนี้เราเห็นได้ชัดว่าอาเซียนมีหลายประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ทั้งยังมี Internet Economy ที่โตเร็วน่าเหลือเชื่อ เพราะกว่า 75% เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น 27 ตัว เพิ่มขึ้นถึง 8 ตัว ในปี 2021 เพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น
นอกจากนี้ ด้วยสัดส่วนคนหนุ่มสาวจำนวนมาก จำนวนชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และบริบทโลกที่ใครๆ ต่างก็ทยอยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนออกจากจีน อาเซียนจึงกลายเป็นแหล่งลงทุนที่ธุรกิจต่างต้องชายตามอง
แต่ประเด็นก็คือ อาเซียน ยังเป็นตลาดปราบเซียนที่หลายธุรกิจต้องยอมถอยทัพออกมาตั้งหลัก เพราะยังขาดพันธมิตรที่ช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจในอาเซียนโดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินและการเชื่อมโยงลูกค้าในภูมิภาค
คำตอบสำหรับการผลักดันธุรกิจไทยพิชิตตลาดอาเซียนอาจจะเป็นการหาพันธมิตรของธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญและแกร่งเพียงพอ ซึ่งกรุงศรีได้ประกาศตัวเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่จะพาธุรกิจไทยไปอาเซียน
กรุงศรี อีก 1 คีย์หลักของการผลักดันธุรกิจไทยสู่อาเซียน
กรุงศรีย้ำกลยุทธ์ ASEAN Expansion ที่จะเดินหน้าโฟกัสการสร้างการเติบโตในอาเซียนและพาลูกค้ากรุงศรี ไปเติบโตในตลาดต่างแดนด้วยข้อได้เปรียบของกรุงศรี จากการมี Strategic Partner ที่แข็งแกร่ง ประสบการณ์ในอาเซียนที่โชกโชน และความโดดเด่นในบริการทางการเงินที่ช่วยเสริมศักยภาพให้ลูกค้าธุรกิจ
Strategic Partner ของ กรุงศรี
กรุงศรีมีความได้เปรียบจากการเป็นธนาคารระดับภูมิภาคที่มี Strategic Partner อย่าง มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 360 ปี มีเครือข่ายสำนักงานกว่า 2,500 แห่ง ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีออฟฟิศในอาเซียนมากกว่า 20 แห่ง ใน 7 ประเทศ แถมยังมีธนาคารพันธมิตรทั่วอาเซียน เช่น
- Bank Danamon ในอินโดนีเซีย
- VietinBank ในเวียดนาม
- Security Bank ในฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ กรุงศรีและ MUFG ก็เคยมีประสบการณ์ร่วมมือช่วยเหลือลูกค้าให้เข้าไปขยายธุรกิจในอาเซียนด้วยโซลูชั่นทางการเงินที่หลากหลาย เช่น
- บริการสินเชื่อสำหรับผู้ซื้อเพื่อผู้ขายรายย่อย (Payable Finance) ให้กับบริษัทไทยที่ขยายธุรกิจไปในเวียดนาม
- บริการสินเชื่อเพื่อการรับซื้อลูกหนี้การค้าที่มีประกันคุ้มครอง (Cross border ARPS) ให้กับบริษัทไทยที่ขยายธุรกิจไปสิงคโปร์
Taking Krungsri Beyond Thailand: ศักยภาพของ กรุงศรี ในอาเซียนไม่เป็นรองใคร
ที่สำคัญ กรุงศรียังมีความคุ้นเคยกับตลาดอาเซียนเป็นอย่างดี เพราะกรุงศรีเป็นสถาบันทางการเงินไทยที่มีเครือข่ายในอาเซียนมากที่สุด มีสาขาและเครือข่ายครอบคลุม 5 ประเทศอาเซียน จึงมีประสบการณ์มาอย่างยาวนานทั้งจากการทำตลาดของตัวเองและการสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าในแต่ละประเทศอย่างจริงจัง เช่น
- ตั้งบริษัทสินเชื่อเพื่อรายย่อยในสปป. ลาว
- เปิดสำนักงานตัวแทนในเมียนมา
- ซื้อกิจการทั้งหมดของ HKL สถาบันไมโครไฟแนนซ์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในประเทศกัมพูชา ซึ่งได้ยกระดับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ภายใต้ชื่อ Hattha Bank ในปี 2020
- เข้าซื้อหุ้นจำนวน 50% ของ SB Finance บริษัทย่อยในเครือ SBC ให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อรายย่อยในฟิลิปปินส์
- ล่าสุด กรุงศรีได้บรรลุข้อตกลงกับ SHB ธนาคารพาณิชย์ร่วมทุนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในการซื้อ SHB Finance ที่ให้บริการสินเชื่อเพื่อรายย่อย
โดยกรุงศรีย้ำจุดยืนในการมุ่งสู่อาเซียนว่า กรุงศรีจะไม่หยุดยั้งในการพัฒนาธุรกิจของตนในอาเซียน และยังคงเสาะหาพันธมิตรใหม่ๆ ในอาเซียนมาเสริมความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กรุงศรีมีศักยภาพในการเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วอาเซียนได้อย่างแท้จริง
Taking our Customers Beyond Thailand: ให้ลูกค้าได้ไปไกลในอาเซียน
ด้วยความเชี่ยวชาญของกรุงศรี อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการให้บริการโซลูชั่นทางการเงิน บริการธุรกรรมระหว่างประเทศ และการจับคู่ธุรกิจหรือ Business Matching ของกรุงศรี
กรุงศรีและ MUFG นั้นมีประสบการณ์ร่วมมือช่วยเหลือลูกค้าให้เข้าไปขยายธุรกิจในอาเซียนด้วยโซลูชั่นทางการเงินที่หลากหลาย เช่น
- บริการสินเชื่อสำหรับผู้ซื้อเพื่อผู้ขายรายย่อย (Payable Finance) ให้กับบริษัทไทยที่ขยายธุรกิจไปในเวียดนาม
- บริการสินเชื่อเพื่อการรับซื้อลูกหนี้การค้าที่มีประกันคุ้มครอง (Cross border ARPS) ให้กับบริษัทไทยที่ขยายธุรกิจไปสิงคโปร์
และยังมีการให้บริการการทำธุรกรรมระหว่างประเทศที่กรุงศรีให้ความสำคัญ และเดินหน้าทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเชื่อมั่นว่าธุรกรรมที่สะดวก คล่องตัว ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง จะช่วยให้ธุรกิจหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจหมุนไปอย่างรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งในภาคธุรกิจหรือกลุ่มลูกค้ารายย่อย โดยมีการให้บริการที่หลากหลาย ทั้งการชำระเงินแบบเรียลไทม์ การใช้เทคโนโลยี Blockchain การเชื่อมต่อโดยตรงกับธนาคารพันธมิตรผ่าน APIและการทำให้การโอนเงินมีต้นทุนต่ำลง
ตัวอย่างหนึ่งที่โดดเด่นก็คือการให้บริการ Thai QR Payment ที่กรุงศรีเปิดตัวไปในปี 2019 เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวไทยชำระเงินค่าสินค้าที่ญี่ปุ่น ผ่าน “KMA” ซึ่งกรุงศรีก็ได้ต่อยอด ขยาย QR payment ไปที่อินโดนีเซีย และกำลังทำ MUFG P2P remittance network เชื่อมต่อ API ระหว่างกรุงศรีและธนาคารพันธมิตรของ MUFG ในอาเซียน โดยมี Danamon Bank ในอินโดนีเซียที่จะเชื่อมต่อกับกรุงศรีเป็นประเทศแรก (ขณะนี้อยู่ในระหว่างการขออนุมัติจากธนาคารกลางอินโดนีเซีย) และมีแผนจะขยายไปที่เวียดนาม และกัมพูชาต่อไป
กรุงศรียังเล็งเห็นโอกาสจาก New Trend อย่างในกรณีที่กรุงศรี และ กรุงศรี ฟินโนเวต เดินหน้าสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมและสตาร์ทอัพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ร่วมมือกับเครือข่ายของ MUFG และ MUFG Innovation Partners และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยในต่างประเทศ และสนับสนุนสตาร์ทอัพจากประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทย
การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่มนักลงทุนผ่านทางกรุงศรีและเครือข่ายของ MUFG ทั้งในไทยและต่างประเทศทั้งในอาเซียนและญี่ปุ่น
เมื่อพูดถึงบริการจับคู่ทางธุรกิจหรือ Business Matching ที่ผ่านมากรุงศรีมีบริการ Krungsri-MUFG Business Matching มาตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ถึงขั้นที่ว่ากลายเป็นงานจับคู่ธุรกิจระหว่างคู่ค้าไทยและญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่ง และนี่คือเครื่องการันตีความสำเร็จของบริการจับคู่ธุรกิจของกรุงศรีเป็นอย่างดี
กรุงศรียังประสบความสำเร็จในการเชื่อมธุรกิจด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นในกรณีของ “Krungsri Virtual Business Matching” ที่มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่าง นักธุรกิจไทย-นักธุรกิจอาเซียนกว่า 230 คู่ โดยธุรกิจ SME ของไทยสามารถส่งสินค้าไปขายในกัมพูชามูลค่า 1.1 ล้านบาทเลยทีเดียว
หรือในกรณีของ Online Business Matching กับ Thaitown Supermarket ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่ขายเฉพาะสินค้าไทยในเมียนมา โดยมีผู้ประกอบการฝั่งไทยสมัครเข้าร่วมกิจกรรมถึง 76 บริษัท
สรุป
ด้วยความมุ่งมั่นของกรุงศรีที่จะก้าวสู่การเป็น “สถาบันการเงินไทยที่เป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน” ธนาคารกรุงศรีจึงมาพร้อมกับกลยุทธ์ กรุงศรี ASEAN Expansion ซึ่งจะเป็น 1 คีย์สำคัญในการผลักดันธุรกิจไทยสู่อาเซียน ด้วย Strategic Partner ที่แข็งแกร่ง ประสบการณ์ในภูมิภาคที่โชกโชน และจุดเด่นในการให้บริการทางการเงินต่างๆสำหรับลูกค้าธุรกิจ
ผู้ประกอบการไทยที่มีความพร้อมหรือกำลังจะเดินหน้าบุกตลาดอาเซียนอยู่แล้วจะสามารถใช้ความเชี่ยวชาญ เครือข่าย และนวัตกรรมต่างๆ ที่เต็มเปี่ยมด้วยศักยภาพครบครันของทั้งกรุงศรีและ MUFG ซึ่งครอบคลุม พร้อมเชื่อมโยงทุกมิติความต้องการของลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ให้ลูกค้าก้าวไกลในต่างประเทศได้
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา