ตลาดหนังสือในจีนเตรียม Shift หลังประชากรในประเทศอ่านบน Digital Platform เกินครึ่ง

การอ่านเป็นพื้นฐานในการเพิ่มพูนความรู้ให้กับประชากรในประเทศ ยิ่งปัจจุบัน Digital Content ต่างๆ เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายกว่าเดิม ดังนั้นคงไม่แปลกที่วิวัฒนาการของการอ่านในประเทศจีนจะไปในฝั่งดิจิทัลมากขึ้น ผ่านยอดการเติบโตถึง 8 ปีซ้อน

ภาพจาก Flickr ของ Institute of Network Cultures

อ่านหนังสือดิจิทัล 3.21 เล่ม/ปี

จากการสำรวจของ Chinese Academy of Press and Publication พบว่า ในปี 2559 ประชากรชาวจีนในประเทศมีถึง 79.9% ที่เป็นคนอ่านหนังสือ ผ่านการอ่านเกิน หรือเทียบเท่าค่าเฉลี่ยที่ 7.78 เล่ม/คน/ปี ซึ่งค่าเฉลี่ยนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2558 เล็กน้อยอีกด้วย ผ่านการอ่านหนังสือแบบเล่ม 4.65 เล่ม และแบบ E-Book อีก 3.21 เล่ม

และถ้าเจาะไปที่การอ่านผ่าน Digital Platform เช่น Smartphone, Tablet รวมถึงตามหน้าเว็บไซต์ของคอมพิวเตอร์ จะพบว่ามีถึง 68.2% ของประชากรที่เริ่มอ่านรูปแบบนี้แล้ว โดยเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับปี 2558 และเป็นการเติบโตของการอ่านผ่านวิธีนี้ถึง 8 ปีติดต่อกัน ผ่านการอ่านกว่า 57.22 นาที/วัน

ขณะเดียวกันการอ่านผ่าน Smartphone ของชาวจีนยังมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 74.4 นาที/วัน เพิ่มขึ้น 12.19 นาทีเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่น่าสนใจคือการอ่านบทความบน WeChat ที่ใช้เวลาถึง 26 นาที/วัน และในชานเมืองก็มีการอ่านบทความ และข่าวสารบนโลกออนไลน์ใกล้เคียงกับคนในเมืองอีกด้วย

ภาพ pexels

สื่อเก่าอยู่ลำบากถ้าไม่ Go Online

ทางฝั่งสือดั้งเดิม โดยเฉพาะกลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ที่มียอดความนิยมในการอ่านลดลงเรื่อยๆ สังเกตจากการอ่านหนังสือพิมพ์ของชาวจีนในประเทศมีเพียง 13.15 นาที/วัน ลดลง 3.86 นาทีจากปี 2558 ส่วนการอ่านนิตยสารก็ลดลดเหลือ 6.61 นาที/วัน ลดลงจากปี 2558 ราว 2.22 นาทีเช่นเดียวกัน

ดังนั้นหากสื่อดั้งเดิมไม่นำเนื้อหาไม่ปล่อยบนโลกออนไลน์ การจะดำรงธุรกิจต่อไปก็คงยาก แต่การนำเนื้อหาต่างๆ ขึ้นไปแล้ว การปรับปรุงให้เข้ากับโลกออนไลน์ก็จำเป็น เพราะหากเอาเนื้อหาขึ้นไปเฉยๆ ความน่าอ่านก็คงไม่มี และผู้บริโภคก็เลือกที่จะอ่านบนช่องทางอื่นๆ ในโลกออนไลน์ที่มีจำนวนมากแทน

สรุป

ตลาดสื่อสิ่งพิมพ์ และหนังสือคงต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ จะอยู่นิ่งๆ ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว และเชื่อว่าเทรนด์นี้จะไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยเร็วขึ้นแน่นอน เพราะปัจจุบัน Smartphone และอินเทอร์เน็ตที่ค่อนข้างพร้อม ทำให้ผู้บริโภคออนไลน์กันมากขึ้น เหลือเพียงแต่รอคอนเทนต์ดีๆ เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการ

อ้างอิง // People Daily, China Internet Information Center

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา