ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ เก็บภาษีบริการดิจิทัล ดันรายได้รัฐ แต่เป็นภาระองค์กร-ผู้บริโภค

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ (VAT for Electronic Service: VES) ช่วยเพิ่มรายได้ให้ภาครัฐ แต่องค์กร และผู้บริโภค จะถูกผลักภาระด้วยราคาที่สูงขึ้น

ภาษีบริการดิจิทัล

1 ก.ย. 2021 คือจุดเริ่มต้น ภาษีบริการดิจิทัล

1 ก.ย. 2021 คือวันเริ่มต้นของภาษี e-Service หรือ VES เพราะเมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่โลกของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล จากเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในภาคธุรกิจ และแม้กระทั่งกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้ทางการต้องหาวิธีการประเมินภาษี และมีนโยบายภาษีที่เหมาะสม เพื่อความเป็นธรรมของบริษัทไทย กับต่างประเทศ

VES คือการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มจากต่างประเทศที่ให้บริการในไทยที่เดิมไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้ปีละ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ในอัตราภาษี VAT ไทยที่ 7% ของราคาค่าบริการ และทางการคาดว่า ภาษีนี้จะทำให้ไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ากว่า 5,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2565

สำหรับธุรกิจที่จะถูกเก็บภาษีดังกล่าวประกอบด้วย

  • ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มประเภทสมัครสมาชิก เช่น บริการสตรีมมิ่งด้านบันเทิง เช่น หนัง เพลง หรือคลิปวิดีโอ
  • ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มประเภทโฆษณาออนไลน์
  • ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งไม่มีแอปพลิเคชั่นเป็นของตนเอง และแบบ P2P เช่น ให้บริการจัดส่งอาหาร เกมส์ออนไลน์ แอปพลิคชั่นต่างๆ
  • ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยเป็นการเก็บ VAT จากรายได้จากการให้ใช้แพลตฟอร์มในการขาย
  • แพลตฟอร์มให้บริการรูปแบบเอเยนต์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มจากต่างประเทศนี้ ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นแบบแสดงรายการและนาส่งภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน ภายใต้ระบบ Pay-Only (ห้ามหักภาษีซื้อ) โดยไม่ต้องจัดทาใบกากับภาษีและรายงานภาษี

ภาษีบริการดิจิทัล

มูลค่าการใช้บริการดิจิทัลขยับสูงถึง 1 แสนล้านบาท

ปัจจุบัน การใช้บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ จะมีค่าใช้จ่ายด้านบริการเกิดขึ้นทั้งในรูปแบบค่าบริการที่เป็นแบบสมัครสมาชิก ค่าธรรมเนียมบริการ ค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์ม ค่าการตลาด ค่าบริการจากค่าขายสินค้าและบริการ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ที่เกิดขึ้นผู้ใช้บริการในประเทศต้องชาระให้กับผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงก่อนการระบาด COVID-19 มูลค่าที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศในกลุ่มกิจกรรมที่ทางการจะมีจัดเก็บภาษี เบื้องต้นน่าจะอยู่ที่ประมาณกว่า 70,000 ล้านบาท แต่ด้วยโรค COVID-19 มาเร่งการใช้บริการดิจิทัลต่าง ๆ ทำให้ตัวเลขดังกล่าวจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนี้

นอกจากนี้หากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ดีขึ้น อัตราการเติบโตดังกล่าวยังมีอยู่ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2024 การใช้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศในกลุ่มกิจกรรมดังกล่าวคาดว่าอาจจะมีมูลค่าขยับเข้าสู่ 1 แสนล้านบาท หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) อยู่ที่ประมาณ 10-15% ต่อปี

ภาระด้านภาษีถูกส่งต่อมาที่องค์กร-ผู้บริโภค

การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ มีเจตนาเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการของไทยและผู้ประกอบการต่างชาติ แต่ในอีกมุมมองหนึ่งการจัดเก็บภาษีก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของธุรกิจในมิติต่างกัน

และผลที่เกิดขึ้น น่าจะกระทบต่อผู้ใช้บริการมากกว่าผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ เนื่องจากผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับ Global Company และผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเหล่านี้จะครองส่วนแบ่งการตลาดที่สูง ทำให้อำนาจต่อรองสูง

ขณะเดียวกันผู้ให้บริการบางรายยังเผชิญกับความท้าทายในการสร้างผลกำไร อีกทั้งธุรกิจการแข่งขันด้านเทคโนโลยีที่สูง ทำให้ผู้ให้บริการต้องลงทุนและพัฒนารายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้ การแบกรับต้นทุนจึงเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มอาจจะมีการส่งผ่านต้นทุนมายังผู้ใช้บริการ

ภาษีบริการดิจิทัล

เกิดขึ้นได้ยาก เพราะการเก็บภาษีมีความซับซ้อน

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเด็นการส่งผ่านต้นทุนภาษีมาให้ผู้ใช้บริการ เป็นเรื่องที่มีซับซ้อนกว่านั้น โดยเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศอาจจะพิจารณา แต่โดยรวมแล้วก็คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ

เพราะการจัดเก็บภาษีนี้เป็นการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมมายังผู้เล่นในระบบที่แต่เดิมไม่อยู่ในกลไกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากที่มีผู้เล่นรายอื่นในธุรกิจที่อยู่ในระบบอยู่ก่อนแล้ว ขณะเดียวกัน ทิศทางและสภาวะแวดล้อมการดำเนินธุรกิจก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

ทำให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศแต่ละรายในธุรกิจต่างๆ คงจำเป็นต้องประเมินทุกปัจจัยเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น บทบาทหรืออานาจต่อรองของตนในตลาดเป็นอย่างไร อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ของตนมากน้อยแค่ไหน การแข่งขันและราคามีผลต่อแนวโน้มของฐานลูกค้าของตนเพียงใด

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา