เปิดความสำเร็จ Skinsista แบรนด์ Skincare ที่ใช้ Twitter เป็นอาวุธสำคัญในการเติบโต

Skincare มีหลากหลายแบรนด์ในประเทศไทย แต่น้อยนักที่จะประสบความสำเร็จ ลองมาทำความรู้จัก Skinsista แบรนด์ Skincare ที่มองเห็นโอกาสจากการใช้ Twitter ในการทำการตลาด จนถูกพูดถึงในวงกว้าง และมียอดขายเติบโตอย่างรวดเร็ว

skinsista

การเติบโตของ Skinsista

Skinsista เริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ของ อู๊ด-ชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา และ ณัฐ-ณัฐพร พงษ์ชาญชวลิต ที่เห็นโอกาสในตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือ Skincare ว่ายังมีช่องว่างอยู่ จึงจัดตั้งบริษัท Skin Laboratory เพื่อทำตลาด Skincare ภายใต้แบรนด์ Skinsista ขึ้นมา และเน้นจำหน่ายที่ช่องทางร้านสะดวกซื้อ กับร้านขายยาชั้นนำ

แบรนด์ Skinsista มีผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ เจลล้างหน้า(Cleansing Gel), วิตามินบูสเตอร์(Vitamin Booster), ครีมซองพรีเมียม(Premium Booster & Cream) และ แอมพูล(Ampoule Molecular Skincare) ที่ช่วยลดสิว หรือทำให้ผิวกระจ่างใสมากขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ดังที่เป็นที่พูดถึงในวงการคนรักความสวยความงาม

เราจะเห็นได้ว่า มีคนแชร์และรีวิวประสิทธิภาพของสินค้า และผลลัพธ์หลังการใช้ที่พิสูจน์ว่าใช้แล้วเห็นผลจริงกันเยอะมาก

Skinsista ที่เห็นเห็นคุณค่าของทุกเสียงจากผู้ใช้งานจริง จึงต่อยอดไอเดีย นำเสียงของผู้บริโภคไปเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักทางการตลาดบน Twitter และจุดนี้เองที่ทำให้ Skinsista เติบโตอย่างเร็วจนขึ้นมาเป็นแบรนด์แถวหน้าของวงการ Skincare

เหตุที่ Skinsista เลือกใช้ช่องทาง Twitter เป็นอาวุธในการสื่อสารของแบรนด์ เริ่มจาก Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้คนจริงๆ มาถกเถียงและแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย หากสิ่งไหนดีหรือผู้ใช้ชื่นชอบ ก็มักจะถูกชื่นชม และถูกพูดถึงแบบปากต่อปาก จนชื่อแบรนด์ Skinsista กระจายออกไปได้อย่างรวดเร็ว

skinsista
ณัฐ-ณัฐพร พงษ์ชาญชวลิต กับ อู๊ด-ชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา

Ambassador ที่น่าเชื่อถือที่สุดคือผู้ใช้จริง

“Brand Purpose ของ Skinsista คือการที่เราอยากจะสร้างสินค้าที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าได้ใช้ และเนื่องจากเราค่อนข้างจะเน้นในด้านคุณภาพของสินค้า เราจึงเชื่อว่า Ambassador ที่น่าเชื่อถือที่สุดก็คือ เสียงผู้ใช้จริง” ชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Skin Laboratory กล่าว

ยิ่งมีการสนทนาเกี่ยวกับความสวยความงาม, ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว และเครื่องสำอาง บน Twitter กว่า 119 ล้านข้อความ การที่ช่องทาง Twitter จะช่วยให้ Skinsista ไปพบกับผู้ที่ชื่นชอบการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้ใช้รายอื่นย่อมมีโอกาสมากขึ้น

“Twitter เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างตรงกับกลุ่มลูกค้าที่ Skinsista มองหา คือมีการพูดคุย และให้ความสนใจกับการดูแลตัวเอง ความสวยความงาม ทั้งบอกต่อสินค้าที่ใช้แล้วให้ผลลัพธ์ดี Skinsista จึงเริ่มทำตลาดบนช่องทางนี้” ณัฐพร พงษ์ชาญชวลิต กรรมการผู้จัดการ Skin Laboratory เสริม

Allowlisting เครื่องมือสำคัญของ Skinsista

การทำตลาดบน Twitter ทาง Skinsista เลือกใช้เครื่องมือ Allowlisting หรือการโปรโมท Tweet ของผู้ใช้รายใดรายหนึ่งให้เกิดการรับรู้มากขึ้น ซึ่งในกรณีของ Skinsista คือการนำ Tweet ของผู้ใช้จริงที่รู้สึกดีต่อสินค้าแบรนด์มาโปรโมท เพื่อสื่อสารคุณภาพของสินค้าด้วยผลลัพธ์ของผู้ใช้จริง

“Skinsista คือสินค้าที่เน้นเรื่องผลลัพธ์ และไม่มีใครที่จะบอกต่อได้ดีเท่าผู้ใช้จริง Allowlisting จึงเป็น Solution ที่เหมาะสม แต่การนำ Advocacy ของผู้ใช้งานจริงไปถึงคนอื่น ผมว่าต้องมีสิ่งอื่นมาเสริม เช่น Image Ads หรือ Video Ads เพื่อสื่อสารข้อความจากแบรนด์ด้วย ชาญวิทย์ แนะนำ

จากการผสานเครื่องมือทั้งสอง ทำให้แคมเปญการตลาดบน Twitter ของ Skinsista มี Engagement Rate สูงกว่าเกณฑ์ถึง 55% โดย Skinsista เริ่มทำตลาดผ่านการโฆษณาบน Twitter เดือน ก.ค. 2020 ทำให้ดัชนี Brand Conversion เพิ่มขึ้น 24 เท่า (เทียบระหว่างเดือน ก.ค. 2019-2020 กับเดือน ก.ค. 2020-2021)

สรุป

Skinsista พิสูจน์แล้วว่า “Words of mouth” หรือการบอกต่อผ่านเสียงของผู้ใช้จริงยังคงได้ผลอย่างดีในปี 2021 แต่การบอกต่อก็ต้องวางกลยุทธ์ให้ดี Twitter ถือเป็นหนึ่งช่องทางที่อุดมไปด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับสกินแคร์และความสวยความงาม

การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาเหล่านั้น และต่อยอดบทสนทนาเกี่ยวกับแบรนด์ด้วยเครื่องมือการตลาดของ Twitter อย่างต่อเนื่อง ทำให้ Skinsista สามารถสร้างคุณค่าจนแบรนด์ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง นำมาสู่ยอดขายที่พุ่งขั้นอย่างไม่รู้จบ

หากแบรนด์ไหนอยากเดินตามรอยความสำเร็จของ Skinsista ก็ลองมาทำการตลาดบน Twitter กันนะ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Branded Content เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์