อเมริการับมือโควิดดีสุด ไทยอยู่ที่ 39 จาก 53 ประเทศ จากการจัดอันดับของ Bloomberg

USA

การจัดหาวัคซีนทำให้หลายประเทศสามารถยกเลิกการใส่แมสก์ ผ่อนคลายกฎคุมเข้มช่วงโควิด และเริ่มเปิดพรมแดน ทำให้เพียงแค่การมีชีวิตแบบ ‘ปกติ’ ก็ถือเป็นกุญแจสำคัญในการวัดคุณภาพชีวิตของประชาชน 

Bloomberg จัดอันดับการรับมือโควิดของ 53 ประเทศ โดยให้คะแนนความสามารถในการฟื้นฟู อัตราการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน ผลกระทบจากการล็อคดาวน์  และความสามารถในการทำการบิน (-20% = มีความสามารถในการทำการบินน้อยกว่าก่อนการระบาด 20%)

อเมริกาได้คะแนนรวมมาเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนไทยอยู่หลังๆ

3 อันดับแรกที่ฟื้นตัวจากโควิดได้ดีตามการจัดอันดับของ Bloomberg ได้แก่

  1. สหรัฐอเมริกา (คะแนนการฟื้นฟู 76  การแจกจ่ายวัคซีน 50.3% ความรุนแรงของการปิดเมือง 47 ความสามารถในการทำการบิน -20.1%) 
  2. นิวซีแลนด์ (คะแนนการฟื้นฟู 73.7  การแจกจ่ายวัคซีน 10.3% ความรุนแรงของการปิดเมือง 22 ความสามารถในการทำการบิน -31.3%)
  3. สวิตเซอร์แลนด์ (คะแนนการฟื้นฟู 72.9  การแจกจ่ายวัคซีน 41% ความรุนแรงของการปิดเมือง 48 ความสามารถในการทำการบิน -69.9%)
NEW YORK, NY – APRIL 25: Bicyclists wear face masks waiting in line in front of a bicycle shop during the coronavirus pandemic on April 25, 2020 in New York City. COVID-19 has spread to most countries around the world claiming over 202,000 lives lost with over 2.9 million infections reported. (Photo by Jamie McCarthy/Getty Images)

อเมริกาถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 เพราะการจัดสรรวัคซีนที่รวดเร็วและกระจายออกไปได้อย่างทั่วถึง คนที่ฉีดวัคซีนแล้วไม่จำเป็นต้องใส่แมสก์ทำให้คนออกมาเที่ยวข้างนอกได้ตามปกติ 

ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีวัคซีนเหลือใช้ แต่ในแถบละตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีการระบาดของโควิดพร้อมมาตรการคุมเข้ม อีกทั้งการแจกจ่ายวัคซีนยังคงติดขัด

ไทยอยู่ในอันดับที่ 39 ได้คะแนนการฟื้นฟู 54.1 การแจกจ่ายวัคซีน 6.4% ความรุนแรงของการปิดเมือง 54 ความสามารถในการทำการบิน -86% 

การปิดพรมแดนกระทบต่อเศรษฐกิจ ยากต่อการฟื้นฟู

เอเชียแปซิฟิกได้คะแนนน้อยเมื่อใช้เกณฑ์การเปิดประเทศเป็นตัววัด เนื่องจากหลายประเทศเลือกปิดพรมแดน และมีมาตรการกักตัวที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้ามาในประเทศ แต่ขณะเดียวกันมาตรการที่เข้มงวดนี้ก็เป็นการปิดกั้นตัวเองจากการติดต่อกับประเทศอื่น ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก

Thai COVID-19
BANGKOK, THAILAND – MAY 07: Approximately 1,000 unemployed Thai people wait in line to apply for the three month, 5,000 baht, financial aid promised by the Ministry of Finance on May 7, 2020 in Bangkok, Thailand. This complaint center allows Thai people who are unemployed due to the coronavirus pandemic, and who did not receive direct deposits, to submit their bank information to the Ministry of Finance. If approved, each will receive 5,000 Baht (approx. $154 USD) for 3 months. Thailand is slowly lifting restrictions after being locked down for over one month in an effort to stop the spread of Covid-19. (Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

วัคซีนที่เพียงพอนำมาสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

อเมริกาก็ยังคงนำมาเป็นอันดับ 1 ในด้านการเปิดเศรษฐกิจ ด้วยวัคซีนที่มากพอ การระบาดลดลง อุตสาหกรรมการบินใกล้กลับมาฟื้นตัวเต็มที่ และข้อจำกัดในการเดินทางที่ลดลงสำหรับผู้ที่รับวัคซีนแล้ว

นอกจากนี้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน การพัฒนาระบบเพื่อติดตามประวัติการสัมผัสผู้ป่วย การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยช่วยให้คนระมัดระวังตัวเองจากการติดเชื้อสามารถลดการระบาดรุนแรงในช่วงแรกได้

สรุป

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายประเทศได้คะแนนการประเมินสูงก็ยังคงมาจากการจัดสรรวัคซีนอย่างทั่วถึง เพราะในประเทศที่ประชาชนได้รับวัคซีนแล้วจะสามารถผ่อนคลายมาตรการคุมเข้ม เปิดประเทศกระตุ้นการท่องเที่ยว และที่สำคัญที่สุดคือประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

ที่มา: Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา