ธุรกิจครอบครัวเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มาก เรียกได้ว่าเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจประเทศไทย เพราะกว่า 80% ของ GDP ประเทศไทยในปี 2019 มาจากรายได้ของธุรกิจครอบครัว และ จำนวน 3 ใน 4 ของธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นธุรกิจครอบครัว มีนามสกุลใหญ่ๆ มีเจ้าสัวหลายคน เป็นเจ้าของธุรกิจ ดังนั้น การรักษาและและส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้ยั่งยืน จึงเป็นสร้างเศรษฐกิจไทยไปพร้อมกัน นี่คือสิ่งที่ KBank Private Banking ให้ความสนใจ
จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า ช่วงเวลานี้หลายคนมองว่าความเสี่ยงของภาคธุรกิจมีมากขึ้น จากสถานการณ์โควิด-19 แต่สำหรับธุรกิจครอบครัว มีความเสี่ยงมากกว่านั้น เช่น การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี การส่งผ่านธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีหลายครอบครัวที่ไม่ได้ตระหนักถึงและเตรียมความพร้อม ในขณะที่ KBank Private Banking และ Lombard Odier พันธมิตรของเรา ที่มีความเชียวชาญและประสบการณ์ดูแลธุรกิจครอบครัวมาแล้วทั่วโลก เป็นเวลากว่า 200 ปี มองเห็น
ธุรกิจครอบครัวในไทยยังขาดการเตรียมพร้อม
จากการสำรวจของ Lombard Odier ในเดือนธันวาคม 2020 พบว่า 45% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทย ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลครอบครัว แต่ให้ความสนใจวางแผนบริหารสินทรัพย์ครอบครัวในอนาคต
ขณะเดียวกัน จากการสำรวจ PWC Family Business Survey 2019 พบว่า 64% ธุรกิจครอบครัวยังไม่มีการวางแผนส่งต่อธุรกิจ รวมถึงการรับมือ Technology Disruption
เมื่อ 6 ปีก่อน KBank Private Banking เป็น Private Banking รายแรกที่เปิดให้บริการ Family Wealth Planning ในประเทศไทย จากการได้รับองค์ความรู้จากพันธมิตร Lombard Odier ที่ว่าธุรกิจครอบครัวที่ไม่ได้มีการวางแผนการส่งต่อ มีอัตราการอยู่รอดค่อนข้างต่ำ โดยพบว่าธุรกิจครอบครัวทั้งชาติตะวันตกและตะวันออก 100 ราย ที่ไม่ได้มีการวางแผนบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว จะมีธุรกิจที่รอดอยู่ถึงรุ่นที่ 4 เพียง 14 ราย หรือแค่ 14% เท่านั้น
สำหรับในประเทศไทย มีธุรกิจครอบครัวในรุ่นที่ 2 อยู่ 75% ในขณะที่อยู่ในรุ่น 3 และ 4 เพียง 4% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าธุรกิจครอบครัวของไทยอายุยังน้อย ยังขาดประสบการณ์ในการส่งต่อ
ขณะที่ในยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ส่งต่อกันถึงรุ่นที่ 7 และ 8 แล้ว ซึ่งนั่นก็หมายความว่าธุรกิจครอบครัวในไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญ หากมีความรู้ มีการวางแผนและได้เตรียมความพร้อมที่ครบถ้วนจะช่วยรักษา ส่งต่อและสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจครอบครัว รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ อย่างยั่งยืนได้
ปัญหาส่วนใหญ่คือ “มากคนมากความ”
จิรวัฒน์ บอกว่า ปัญหาหลักคือ มากคนมากความ ไม่ได้มีแค่ครอบครัวเดียว แต่เป็นครอบครัวขยาย มีครอบครัวลูก ครอบครัวหลาน มีสมาชิกมากขึ้น มีคนนอกเข้ามาเกี่ยวข้องอีก โอกาสเกิดปัญหาก็มีมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความมั่งคั่งของทรัพย์สินก็มีมากขึ้นด้วย มีการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ มีเรื่องกฎหมาย เรื่องภาษี
การส่งต่อ การแบ่งทรัพย์สิน ให้เกิดความยุติธรรมแต่ไม่ได้เท่าเทียมสามารถทำได้อย่างไร ลูกคนโต ลูกคนรอง ลูกคนเล็ก ทายาทไม่อยากรับช่วงต่อธุรกิจ จะบริหารจัดการอย่างไร
ปัญหานี้เหมือนกันทั่วโลก แต่แนวทางแก้ปัญหาแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ KBank Private Banking มีพันธมิตรอย่าง Lombard Odier ที่มีประสบการณ์ในหลายประเทศทั่วโลก สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับกฎหมาย ขนมธรรมเนียมของไทย ให้สามารถก้าวผ่านความอ่อนไหวภายในครอบครัวไปได้
พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Chief – Wealth Planning, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า ปี 2019 ธุรกิจครอบครัวคือปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สัดส่วนของ GDP ประเทศ 80% มาจากธุรกิจครอบครัว และมีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งถึงปัจจุบันยิ่งมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ
หากพิจารณาความเสี่ยงที่ธุรกิจครอบครัวต้องพบหลักๆ ได้แก่
- ความขัดแย้งของสมาชิกในครอบครัว
- การบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ เอาสิ่งที่ใช้ในครอบครัว มาใช้ในธุรกิจครอบครัว
- การไม่มีแผนการส่งต่อธุรกิจให้ทายาท ขาดความเข้าใจ ขาดการเตรียมพร้อม
ทั้ง 3 ความเสี่ยงนี้ สามารถเตรียมวางแผนบริหารทรัพย์สินของครอบครัวเพื่อเตรียมรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ โดยแบ่งเป็น
การบริหารจัดการความเสี่ยง 3 ส่วน คือ
- ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก คือสิ่งที่มีผลกระทบกับธุรกิจครอบครัวมาโดยตลอด ไม่เพียงเฉพาะสถานการณ์โควิด-19 แต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Disruption) การหยุดชะงักของหลายอุตสาหกรรม
- ความเสี่ยงด้านภาษี หลายครอบครัวมีบัญชีหลายเล่ม ตอนนี้ระบบภาษีของโลกไปไกลมาก ทั่วโลกเริ่มมีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษี และไทย ก็ร่วมระบบนี้ด้วย ดังนั้นการเก็บภาษีจะเข้มงวดมากขึ้น กรมสรรพากรจะเข้ามาตรวจสอบมากขึ้น
- ความเสี่ยงจากการถือครองทรัพย์สินและค่าใช้จ่าย เช่น เงินฝาก ก็มีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ เท่ากับว่าสินทรัพย์กำลังลดค่าลงเรื่อยๆ
การจัดการระบบกงสีอย่างยั่งยืน
- การกำหนดกติกาในครอบครัว การขาดกติการอาจนำไปสู่ความขัดแย้งภายในครอบครัว
- การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สิน เช่น การใช้บริษัท Holding หรือ ทรัสต์ในต่างประเทศ
การให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งอย่างราบรื่น
- การมีเป้าหมายร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว หลังจากกำหนดทุกอย่างข้างต้น ทุกคนมีแนวโน้มจะมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน
- การเตรียมความพร้อมให้กับคนที่มารับช่องต่อธุรกิจ
- การวางแผนการส่งต่อธุรกิจ
ตอบโจทย์ธุรกิจครอบครัวด้วยบริการ 6 ด้าน
บริการ Family Wealth Planning ของ KBank Private Banking มีเป้าหมายเพื่อช่วยรักษาทรัพย์สินที่สร้างมา ต้องมีการเติบโตและส่งต่อให้กับรุ่นต่อไป โดยแบ่งเป็น 6 บริการหลัก ได้แก่
- การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินของครอบครัว (Asset Holding Structures) เช่น ที่ดิน กิจการของครอบครัว ว่าควรอยู่ในรูปแบบใด ซึ่งรวมไปถึงการจัดการระบบกงสี ระบบสวัสดิการของครอบครัว ให้สอดคล้องกับข้อตกลงของครอบครัว และคำนึงถึงการวางแผนภาษีควบคู่ไปพร้อมกัน
- การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัว (Financial Asset, Liability and Risk Management) เช่น การบริหารจัดการภาษี, หนี้สิน ความขัดแย้ง การสืบทอดกิจการ
- การสร้างกติกาของครอบครัวและการสืบทอดธุรกิจอย่างเป็นระบบ (Family Continuity Planning) คือ การสร้างธรรมนูญของครอบครัวเพื่อ ลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจ ทำให้ธุรกิจครอบครัวสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และยังนำไปประยุกต์ใช้กับทรัพย์สินกงสีของครอบครัวได้
- การวางแผนส่งต่อทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น (Inheritance and Wealth Transfer) การส่งต่อธุรกิจอย่างราบรื่น รวมถึง ภาษีมรดกต่างๆ
- การทำสาธารณกุศล (Philanthropy) คือ การสร้างประโยชน์ต่อสังคม สร้างชื่อเสียงให้กับครอบครัว
- การทำหน้าที่เป็นสำนักงานของครอบครัว (Family Office) ดูแลสวัสดิการต่างๆ สมาชิกในครอบครัว ดำเนินการตามแผนการบริหารสินทรัพย์ของครอบครัว และอื่นๆ
การทำงานของ KBank Private Banking จะทำแบบ 1ต่อ1 คือทำงานโดยตรงกับครอบครัว ให้ความรู้ แนะนำ วางแผน ดำเนินการ ครอบคลุมสินทรัพย์ทั้งในไทยและต่างประเทศ มีความแม่นยำและเป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ดังนั้นบางเรื่องอาจใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไป เป็นงานที่เน้นด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณ
ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา KBank Private Banking ให้บริการลูกค้า 3,600 ราย หรือประมาณ 720 ครอบครัว ครอบคลุมสินทรัพย์ครอบครัวทั้งธุรกิจและที่ดิน มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท และภายใน 3 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าว่าจะให้บริการ Family Wealth Planning ครอบคลุมลูกค้า 50% ของพอร์ตหรือ 6,000 รายจาก 12,000 ราย
สรุป
80–90% ของธุรกิจทั่วโลกเป็นธุรกิจครอบครัว และมีไม่น้อยที่ล้มหายตายจากไป เนื่องจากมีความอ่อนไหวระหว่างความเป็นครอบครัวและธุรกิจ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความขัดแย้งภายในครอบครัว การไม่มีแผนส่งต่อธุรกิจรุ่นสู่รุ่น แต่ปัญหาหลักของธุรกิจครอบครัวในไทย คือ การบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ ปล่อยให้เป็นไปตามขนมธรรมเนียม หรือตามธรรมชาติ
ดังนั้นบริการ Family Wealth Planning จาก KBank Private Banking จึงเป็นหนึ่งในทางออกสำหรับธุรกิจครอบครัว ที่ต้องการจะรักษา สร้างการเติบโต และส่งต่อทรัพย์สินอย่างยั่งยืนต่อไป
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา