FinTech ฟังทางนี้ แบงค์ชาติ-กลต. ให้คำแนะนำที่ Startup สายการเงินควรรู้

13713505_10153560726641020_2045214546_n

Startup ในบ้านเราแล้ว เวลานี้ไม่มีอะไรกระแสแรงเท่ากับ FinTech เพราะธนาคารซึ่งเป็นเจ้าของแหล่งเงิน กระโดดลงมาเล่นเกือบครบทุกรายหลักแล้ว อีกทั้ง VC ทั้งในและต่างประเทศก็เลือกช็อปลงทุนรายที่เด่นๆ ไปไม่น้อย เช่น Claim di, StockRadars และ Piggipo แต่ยังมี FinTech อีกหลายประเภท ที่ยังอยู่ระหว่างการเริ่มต้น และมีข้อจำกัดสำคัญจาก ผู้คุมกฎ และกฎระเบียบ (Regulation) ของไทย

ในงาน NextMoneyBKK (หรือเดิมชื่อ NextBank) ได้เชิญตัวแทนจากผู้คุมกฎ, นักลงทุน และ FinTech จากต่างประเทศมาให้ความเห็น พร้อมตอบคำถามที่ FinTech อยากรู้ นำทีมโดย วิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย, ณัฐฐิรา จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายใบอนุญาตธุรกิจตัวกลางและส่งเสริมธุรกิจ SME สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ แห่ง CyberAgent Ventures และ มาโนช พฤฒิสถาพร จาก Credit Karma โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

13728398_10153560725991020_849105977_o

อย่ากลัวแบงค์ชาติ มาหาคำตอบไปด้วยกัน

วิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน แบงค์ชาติ บอกว่า ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบและใบอนุญาตต่างๆ ยืนยันว่ามีพื้นที่ที่ FinTech สามารถสอดแทรกช่องว่างเข้าไปให้บริการได้อีกมหาศาล อะไรที่ธนาคารทำไม่ได้ อะไรที่ธนาคารทำช้า FinTech สามารถเข้าไปทำได้หมด โดยเข้าไปช่วยเป็นบริการของธนาคาร

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า FinTech เป็นเรื่องใหม่สำหรับแบงค์ชาติ แม้จะไม่ใช่เรื่องที่ยาก แต่แบงค์ชาติยังไม่รู้ว่า FinTech ต้องการอะไร ต้องแก้ไขกฎระเบียบตรงไหน อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการ และยังคุ้มครองประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น FinTech ต้องเข้ามาคุยกับ แบงค์ชาติ มาช่วยกันเพื่อปรับปรุงให้ Ecosystems ดีขึ้น แทนที่จะไปจดทะเบียนบริษัทที่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือ ฮ่องกง

ดังนั้น ยืนยันว่า FinTech ทุกรายสามารถเดินเข้ามาพูดคุย ปรึกษาหารือ กันได้อย่างเต็มที่เพื่อหาคำตอบและทางออกในอนาคตร่วมกัน

pexels-photo

กลต. แนะเร็วช้าไม่สำคัญ ของให้มีประสิทธิภาพก็แจ้งเกิดได้

ณัฐฐิรา จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายใบอนุญาตธุรกิจตัวกลางและส่งเสริมธุรกิจ SME กลต. บอกว่า กลต. ดูแลทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ เห็นว่า FinTech หลายครั้งอาจมองว่า ต้องทำเร็ว และทำสิ่งใหม่ แต่ต้องไม่ลืมว่า สิ่งที่ดีกว่า ตอบโจทย์ได้มากกว่า ก็สามารถเอาชนะและเติบโตได้ เช่น Facebook เป็น Social ที่มาทีหลังโปรแกรมหลายตัว แต่โดนใจคนมากกว่า และเอาชนะไปได้ในที่สุด ดังนั้นหาความต้องการของผู้ใช้ให้เจอ และทำให้เกิดขึ้น

และยังยืนยันเหมือน แบงค์ชาติ คือ ถ้ามีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ หุ้น, กองทุน ขอให้เดินเข้ามาคุยกับ กลต. โดยตรง หากมีกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ จะได้หาทางแก้ไขร่วมกัน เช่น ESOP เป็นต้น

calculator-385506_1280

Regulation เรื่องใหญ่ที่สุดของ FinTech

ธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ แห่ง CyberAgent Ventures บอกว่า ในมุมมองของ VC แล้ว FinTech เป็น Startup ที่น่าสนใจลงทุนมาก เพราะเป็นบริการที่ช่วยให้คน “รวย” ขึ้น เช่น แนะนำการลงทุนต่างๆ ผ่านข้อมูลอย่างง่ายๆ หรือเป็นบริการลักษณะ Corporate Solutions ทำให้องค์กรต่างๆ ทำงานง่ายขึ้น หรือ ระบบ Payment ที่จะเป็นตัวปลดล็อคระบบจ่ายเงิน และสุดท้ายคือ Personal Finance ที่ดูแลการเงินส่วนบุคคล รวมถึงการปล่อยกู้ในลักษณะ Personal Lending ซึ่งทั้งหมด ธนาคารไม่สามารถทำได้

แต่ VC เองก็ยังมองว่า Regulation เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ถ้าสามารถปลดล็อคส่วนนี้ได้จะมีธุรกิจ FinTech เกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งทุกฝ่ายต้องหันหน้ามาช่วยกัน

nextmoney1

5 ปัจจัยดัน FinTech ในอเมริกาบูม

มาโนช พฤฒิสถาพร จาก Credit Karma บอกว่า FinTech ในสหรัฐอเมริกาได้รับความนิยมอย่างสูงเพราะมีบริการจำนวนมากที่ธนาคารไม่สามารถตอบความต้องการได้ โดยเฉพาะ Personal Lending เพราะมีความเสี่ยงสูงกับธนาคาร แต่ FinTech สามารถทำได้ โดยอาศัยเทคโนโลยี Big Data ช่วยในการรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยมีปัจจัยสำคัญ

  1. Financial Inclusion ทำอย่างไรให้บริการเข้าถึงผู้บริโภค
  2. Cost ค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่ต่ำกว่า บริการหลายอย่างที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ FinTech ต่ำกว่า
  3. Personalization สามารถนำเสนอบริการได้แบบรายบุคคล ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล
  4. Experience สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ เข้าใจง่าย สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องมีขั้นตอนมากแต่ปลอดภัย
  5. Integration รวมบริการและมีการบริหารจัดการที่ดี

เช่น บริการของ Credit Karma มีผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกากว่า 55 ล้านคน เป็นบริการที่ให้ Credit Score (คือ Credit Bureau ของบ้านเรา) ซึ่งปกติคนทั่วไปจะดูต้องเสียเงิน แต่ Credit Karma ซื้อมาให้ประชาชนได้ดูฟรีๆ จะได้รู้ Status ทางการเงิน และความสามารถทางการเงินของตัวเองอย่างแท้จริง ผ่านการวิเคราะห์ พร้อมให้คำแนะนำว่า ควรทำบัตรเครดิตที่ไหน ควรลงทุนอย่างไร ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงส่วนบุคคล จากนั้น Credit Karma จะเก็บค่าบริการจากสถาบันการเงินแทน

nextmoney

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา