วิเคราะห์ศึกรถยนต์ไฟฟ้า 2021 เมื่อทุกคนอยากโค่น Tesla

บทความโดย วีรพล ตั้งศิริพัฒนวงศ์ และ ธงชัย ชลศิริพงษ์

ศึกรถยนต์ไฟฟ้าแห่งปี 2021 ร้อนแรงขึ้น เมื่อทุกคนอยากเอาชนะ Tesla บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ Elon Musk ผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่สุดท้าย จะทำได้จริงหรือไม่ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ

ทำไมทุกคนอยากโค่น Tesla

ปัจจุบันบริษัทรถยนต์ที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลกคือ Tesla โดยมีมูลค่ากิจการ (Market Cap) ทะลุ 8 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 23 ล้านล้านบาท

บุคคลที่รวยที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของ Bloomberg Billionaires Index คือ Elon Musk ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tesla 

ปี 2020 ที่ผ่านถือเป็นปีทองของ Tesla ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าได้เฉียด 5 แสนคัน นำบริษัทเข้าไปซื้อขายในตลาด S&P500 ส่งผลให้มูลค่าหุ้นพุ่งระดับ 800%

ความรุ่งเรืองของวงการรถยนต์ไฟฟ้าทำให้หลายบริษัททั่วโลกอยากเข้ามาเล่น เพราะเห็นโอกาสอีกมากในอนาคต

คู่แข่ง Tesla ในวงการรถยนต์ไฟฟ้า มีใครบ้าง

คู่แข่งในวงการรถยนต์ไฟฟ้า แบ่งออกได้ 2 ประเภท

  1. ประเภทแรกคือ “หน้าเก่า” (ค่ายรถยนต์ที่ก่อตั้งมานานหลายสิบปี)
  2. ประเภทที่สองคือ “หน้าใหม่” (สตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้า, บริษัทเทคโนโลยี)

ส่วนวิธีการต่อสู้ในอุตสาหกรรมรถยนต์มีทั้งหมด 3 กระบวนท่าคือ

  1. หน้าเก่าจับมือกันเอง
  2. หน้าใหม่ลุยเอง
  3. หน้าเก่าจับมือกับหน้าใหม่

หน้าเก่าจับมือกันเอง ค่ายรถยนต์ผนึกกำลังกับ ยกตัวอย่างเช่น

ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการระดมกำลังเพื่อต่อสู้ในศึกนี้ และถือเป็นเทรนด์ขององค์กรใหญ่ทั่วโลกที่เปลี่ยนจากศัตรูเป็นพันธมิตรมากขึ้น ซึ่งแบรนด์ที่น่าจะดีใจไม่น้อยก็คงเป็น Honda เพราะ Honda คือค่ายผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นส่วนน้อยที่ไม่เคยมีพันธมิตรเป็นค่ายผู้ผลิตรถยนต์ด้วยกันเลย

หน้าใหม่ลุยเอง บริษัทสตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้า บริษัทเทคโนโลยีเดินหน้าทำเองทุกอย่าง ยกตัวอย่างเช่น

  • Tesla
  • Rivian
  • Canoo
  • Google มี Waymo
  • 4 มังกรจีน ได้แก่ Xpeng, NIO, WM Motors และ Li Auto

ไม่แปลกที่จะเห็น Startup ออกมาลุยเอง เพราะทุกคนต่างเห็นตัวอย่างความสำเร็จจาก Tesla มาแล้ว โดยเฉพาะฝั่งประเทศจีนที่มีเงินทุน, ประสบการณ์ และการสนับสนุนเต็มที่จากภาครัฐ ทำให้ Startup เหล่านั้นตัดสินใจทำเอง เพื่อกอบโกยผลประโยชน์ทั้งหมดโดยไม่ต้องแบ่งใคร

หน้าเก่าจับมือกับหน้าใหม่ ค่ายรถยนต์ผนึกกำลังบริษัทสตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น

ในทางกลับกันเมื่อค่ายผู้ผลิตรถยนต์ไม่ถนัดเรื่องเทคโนโลยี ส่วน Startup เองก็ไม่รู้วิธีการผลิตรถยนต์มาก่อน ดังนั้นความร่วมมือระหว่างบริษัทเทคโนโลยี กับค่ายผู้ผลิตรถยนต์จึงเกิดขึ้น เพื่อนำจุดเด่นของตัวเองมาช่วยเหลือ และเติบโตไปด้วยกันในโลกอนาคต

tesla
Tesla รุ่นต่างๆ Photo: Shutterstock

ทำไมบริษัทเทคโนโลยี ต้องกระโดดลงมาเล่นในสงคราม EV

การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังของเทคโนโลยีสูงมาก เปรียบเหมือนการทำคอมพิวเตอร์ติดล้อ เพราะนอกจากโครงสร้างด้านนอกของรถแล้ว สมองด้านในคือ “ชิปจำนวนมาก” ที่สั่งงานทั้งแบตเตอรี่ นอกจากนั้น ก็ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อส่งกำลัง รวมถึงการคำนวนค่าต่างๆ เพื่อทำให้รถยนต์ไฟฟ้า ส่วน “รถยนต์ไร้คนขับ” ในอนาคตก็มาแนวเดียวกัน

พูดให้ถึงที่สุดแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าก็คือ “คอมพิวเตอร์ติดล้อ” (Computer on Wheels) นี่เองที่เป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัทเทคโนโลยีจึงเข้ามาเล่นในอุตสาหกรรมนี้ได้

หนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญ และเขาได้เผยตัวมาแล้วในปีนี้คือ “Apple” รายนี้บอกเลยว่า จะลุยเทคโนโลยีไร้คนขับอย่างจริงขัง เพราะเห็นโอกาสในตลาดที่จะลงไปเล่น

ความยิ่งใหญ่ของ Apple คือกำลังมหาศาล ทั้งมูลค่ากิจการระดับ 2 ล้านล้านดอลลาร์ เงินสดในมือที่ทรงพลังเกือบ 2 หมื่นล้านดอลลาร์หรือ 5.6 ล้านล้านบาท

นักวิเคราะห์มองว่า การเข้ามาเล่นในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะทำให้บริษัทเทคโนโลยีได้ “Data” สำหรับการต่อยอดธุรกิจ เพราะนอกเหนือจากตอนที่ผู้บริโภคใช้งานมือถือ บริษัทเทคโนโลยีอยากรู้ว่าตอนที่ขับรถ ผู้บริโภคต้องการอะไร

โจทย์ใหญ่คือเรื่องการผลิต

นอกจากนั้น ปัญหาใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำให้พระเอกในวงการอย่าง Tesla ต้องกุมขมับอย่างหนักมาก่อนแล้ว คือเรื่องของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นคอขวด

Apple จะเข้ามาเล่นในวงการนี้ด้วยท่าใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม นั่นคือ “Horizontal integration” หรือการจัดการธุรกิจในแนบราบ หมายความว่า มีการจ้างผลิตในลางส่วน ไม่ได้ทำเองทั้งหมด ในกรณีนี้คือการที่ Apple จะเน้นไปที่การออกแบบรถยนต์ไฟฟ้า ระบบเทคโนโลยี ส่วนการสร้างโครงรถยนต์ ชิ้นส่วนต่างๆ จะให้บริษัทรถยนต์ผลิต เช่น Hyundai หรือ KIA ที่กำลังจะปิดดีลในไม่ช้านี้

แตกต่างจากในอดีตที่ค่ายรถยนต์จะควบคุมการออกแบบและผลิตเองทั้งหมด ใช้วิธีการที่เรียกว่า “Vertical integration” หรือการจัดการธุรกิจในแนบดิ่ง ควบคุมคุณภาพการผลิตเองทั้งหมด ซึ่ง Tesla ก็ทำแบบนี้เช่นกัน และก็ยังเกิดปัญหา

เพราะฉะนั้น การที่ Apple จะเข้ามาบุกตลาดนี้ ด้วยวิธีที่แตกต่างออกไป จึงมีความเห็นแตกออกเป็น 2 ทาง ทางหนึ่งคือจะสั่นสะเทือนและพลิกโฉมวงการรถยนต์ไปตลอดกาล ส่วนอีกทางวิเคราะห์อาจไม่เป็นเช่นนั้น

ดูตัวอย่าง Tesla ของ Elon Musk ที่เคยตั้งวิสัยทัศน์เอาไว้ว่า จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 20 ล้านคัน ความเป็นจริงคือผลิตได้มากสุดต่อปีคือเกือบ 5 แสนคันเท่านั้น

โจทย์เรื่องการผลิตหินจริงๆ

ขณะเดียวกันเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าคือคอมพิวเตอร์ติดล้อ ชิปต่างๆ ก็ขาดไม่ได้ แต่กระแส IoT เติบโตทำให้ชิปเริ่มขาดตลาด และถึงขนาดตอนนี้มีผู้ผลิตรถยนต์บางรายต้องชะลอการผลิตเพราะชิปไม่เพียงพอ ซึ่งนี่ยังไม่ถึงยุครถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับแพร่หลาย ดังนั้นอาจจะเห็นผู้ผลิตรถยนต์ทำชิปเอง หรือไม่ก็เกิดผู้ผลิตชิปรายใหม่

ส่วนคำถามที่ว่า ใครที่จะมาโค่น Tesla ได้นั้น คำตอบนี้อยู่ที่ “ผู้บริโภค” เพราะการจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ไหนมีปัจจัยหลายอย่างในแต่ละประเทศ ทั้งราคา ความรักในแบรนด์ ไปไกนจนถึงนโยบายภาครัฐที่สนับสนุน

นี่คือเกมระยะยาวที่ต้องจับตาดูกันต่อไป

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา