เปิดเบื้องหลัง ทำไม AIS ต้องทดสอบ 5G ครั้งแรกในประเทศไทย และ 5G ทำอะไรได้บ้าง?

เชื่อว่าหลายคนน่าจะได้ยินกันมาบ้างกับคำว่า “5G” แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า 5G มันคืออะไร และทำอะไรได้บ้าง?

  • บทความนี้จะพาไปสำรวจ 5G ในเบื้องต้น เพราะล่าสุด AIS เขาได้ทำการทดสอบ 5G ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกแล้ว

ทำไม AIS ต้องทดสอบ 5G เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ด้วยความเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคม AIS จึงได้ทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต และล่าสุดคือ 5G

โดยหลังจากที่ กสทช. ได้อนุมัติให้ AIS สามารถนำเข้าอุปกรณ์เพื่อดำเนินการสาธิต 5G และสามารถเปิดการสาธิต 5G บนคลื่นความถี่ย่าน 26.5 – 27.5 GHz ได้อย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

AIS จึงได้ทำการทดสอบ 5G ให้กับประชาชนคนไทยได้สัมผัสเป็นครั้งแรก

วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS
วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS
  • คำถามก็คือ ทำไม AIS ต้องบุกเบิกทดสอบ 5G เป็นรายแรกในประเทศไทย?

คำตอบของเรื่องนี้ วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS บอกว่า “ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลหรือ Digital Life Service Provider เพราะฉะนั้นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 5G เข้ามาในประเทศ นั่นก็คือการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคต โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยี 5G”

AIS ระบุว่า 5G คือเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถเศรษฐกิจและสังคม

วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS
วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS

คำถามต่อไปคือ แล้ว 5G ทำอะไรได้บ้าง?

โดยหลักการแล้ว 5G จะมีความโดดเด่นต่างจาก 4G อยู่ทั้งหมด 3 เรื่องด้วยกันคือ

  1. ความเร็ว (Speed) ความเร็วในที่นี้คือความเร็วในการใช้งานด้านข้อมูล ยกระดับการใช้ดาต้าไปอีกขั้น เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า Enhanced Mobile Broadband หรือ EMBB
  2. ขีดความสามารถของการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอุปกรณ์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ขยายขีดความสามารถในการเชื่อมต่อ ทำให้หุ่นยนต์ 2 ตัวทำงานร่วมกันและสื่อสารกันได้ไวขึ้น ความสามารถในส่วนนี้มีศัพท์เทคนิคว่า Massive machine type communications หรือ mMTC
  3. ตอบสนองได้รวดเร็วและหน่วงน้อยลง ในส่วนนี้เป็นการเพิ่มความสามารถของเครือข่ายให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ศัพท์เทคนิคเรียกว่า Ultra-reliable and low latency communications โดยจะทำให้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็ว มีความหน่วงน้อยลง (Low Latency)

วสิษฐ บอกว่า ความสามารถหลัก 3 ด้านของ 5G จะเป็นการเพิ่มความสามารถที่เพิ่มสูงขึ้นของเครือข่ายโดยตรง และในที่สุดจะนำไปสู่การ disrupt ในอีกหลากหลายวงการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องรถยนต์ไร้คนขับ (Self-driving car) เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยตอบสนองตั้งแต่การส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพราะความหน่วงน้อย และรวมไปถึงการสื่อสารกันของอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ เนื่องจากหากเกิดกรณีสุดวิสัย อุปกรณ์ในรถยนต์จะสามารถสั่งการหรือตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS
วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS

สรุป: ก้าวถัดไปของการ disrupt ธุรกิจ ย่อมมีเทคโนโลยี 5G เป็นส่วนสำคัญ

การที่ AIS นำเอา 5G มาทดสอบและแสดงให้คนไทยได้เห็น เป็นการทำให้เห็นว่า ณ วันนี้ ในด้านเทคโนโลยีมีความพร้อมแล้ว แต่โจทย์ถัดไปคือ ภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่างๆ จะนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้านี้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร

และนี่คือโจทย์สำคัญ เพราะผู้ที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมออกไปใช้งานได้ก่อน ผู้นั้นคือผู้ชนะ และแน่นอนการชนะในยุคนี้ย่อมหมายถึงการ disrupt ผู้เล่นคนอื่นๆ ในตลาด

AIS ในฐานะผู้ให้บริการจึงต้องเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานไว้ เพราะหากวันหนึ่งวันใดในอนาคตอันใกล้ที่อุตสาหกรรมต่างๆ มีแผนธุรกิจ (business model) ที่เกิดขึ้นและจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี 5G ก็จะพบว่าประเทศไทยนั้นพร้อมแล้วสำหรับการแข่งขัน

ใครที่สนใจงาน “5G the First LIVE in Thailand by AIS” สามารถไปชมกันได้ที่ AIS DC ชั้น 5 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2561 ที่สำคัญชมฟรีและไม่มีค่าใช้จ่าย

ในงานจะมีการจัดแสดงนวัตกรรมของเทคโนโลยี 5G ทั้งหมด 5 บูธด้วยกันคือ

  1. 5G Super Speed เป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่าย 5G เพื่อให้เห็นถึงความเร็วในการรับส่งสัญญาณ (Throughput) และความหน่วง (Latency)
  2. 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot เป็นการสาธิตประสิทธิภาพการตอบสนองที่รวดเร็วของเครือข่าย 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สามตัวในการหาจุดสมดุล ที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลางกระดาน การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G
  3. 5G for Industry 4.0 หุ่นยนต์จะมีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 การทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำและความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งจะทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสาธิตหุ่นยนต์ YuMi® Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G
  4. 5G Virtual Reality – immersive video การสาธิต การดูวีดีโอที่แสดงสภาวะเสมือนจริง (immersive video) ผ่านเครือข่าย 5G ผู้ที่ใส่แว่นตา VR จะสามารถมองเห็นได้รอบด้าน 360 องศา การดูวีดีโอ VR ที่มีความคมชัด ต้องการ bandwidth ที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการถ่ายทอดสด หรือ live streaming
  5. 5G FIFA Virtual Reality ทดลองความเร็วของเครือข่าย 5G ด้วยตัวคุณเอง โดยการเตะลูกบอล Virtual Reality ที่จุดโทษผ่านเครือข่าย 5G

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา