เชื่อว่าหลายคนน่าจะได้ยินกันมาบ้างกับคำว่า “5G” แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า 5G มันคืออะไร และทำอะไรได้บ้าง?
- บทความนี้จะพาไปสำรวจ 5G ในเบื้องต้น เพราะล่าสุด AIS เขาได้ทำการทดสอบ 5G ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกแล้ว
ทำไม AIS ต้องทดสอบ 5G เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ด้วยความเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคม AIS จึงได้ทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต และล่าสุดคือ 5G
โดยหลังจากที่ กสทช. ได้อนุมัติให้ AIS สามารถนำเข้าอุปกรณ์เพื่อดำเนินการสาธิต 5G และสามารถเปิดการสาธิต 5G บนคลื่นความถี่ย่าน 26.5 – 27.5 GHz ได้อย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
AIS จึงได้ทำการทดสอบ 5G ให้กับประชาชนคนไทยได้สัมผัสเป็นครั้งแรก
- คำถามก็คือ ทำไม AIS ต้องบุกเบิกทดสอบ 5G เป็นรายแรกในประเทศไทย?
คำตอบของเรื่องนี้ วสิษฐ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS บอกว่า “ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลหรือ Digital Life Service Provider เพราะฉะนั้นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 5G เข้ามาในประเทศ นั่นก็คือการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคต โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยี 5G”
AIS ระบุว่า 5G คือเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถเศรษฐกิจและสังคม
คำถามต่อไปคือ แล้ว 5G ทำอะไรได้บ้าง?
โดยหลักการแล้ว 5G จะมีความโดดเด่นต่างจาก 4G อยู่ทั้งหมด 3 เรื่องด้วยกันคือ
- ความเร็ว (Speed) ความเร็วในที่นี้คือความเร็วในการใช้งานด้านข้อมูล ยกระดับการใช้ดาต้าไปอีกขั้น เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า Enhanced Mobile Broadband หรือ EMBB
- ขีดความสามารถของการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอุปกรณ์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ขยายขีดความสามารถในการเชื่อมต่อ ทำให้หุ่นยนต์ 2 ตัวทำงานร่วมกันและสื่อสารกันได้ไวขึ้น ความสามารถในส่วนนี้มีศัพท์เทคนิคว่า Massive machine type communications หรือ mMTC
- ตอบสนองได้รวดเร็วและหน่วงน้อยลง ในส่วนนี้เป็นการเพิ่มความสามารถของเครือข่ายให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ศัพท์เทคนิคเรียกว่า Ultra-reliable and low latency communications โดยจะทำให้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็ว มีความหน่วงน้อยลง (Low Latency)
วสิษฐ บอกว่า ความสามารถหลัก 3 ด้านของ 5G จะเป็นการเพิ่มความสามารถที่เพิ่มสูงขึ้นของเครือข่ายโดยตรง และในที่สุดจะนำไปสู่การ disrupt ในอีกหลากหลายวงการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
ยกตัวอย่างเช่น เรื่องรถยนต์ไร้คนขับ (Self-driving car) เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยตอบสนองตั้งแต่การส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพราะความหน่วงน้อย และรวมไปถึงการสื่อสารกันของอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ เนื่องจากหากเกิดกรณีสุดวิสัย อุปกรณ์ในรถยนต์จะสามารถสั่งการหรือตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สรุป: ก้าวถัดไปของการ disrupt ธุรกิจ ย่อมมีเทคโนโลยี 5G เป็นส่วนสำคัญ
การที่ AIS นำเอา 5G มาทดสอบและแสดงให้คนไทยได้เห็น เป็นการทำให้เห็นว่า ณ วันนี้ ในด้านเทคโนโลยีมีความพร้อมแล้ว แต่โจทย์ถัดไปคือ ภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่างๆ จะนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้านี้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร
และนี่คือโจทย์สำคัญ เพราะผู้ที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมออกไปใช้งานได้ก่อน ผู้นั้นคือผู้ชนะ และแน่นอนการชนะในยุคนี้ย่อมหมายถึงการ disrupt ผู้เล่นคนอื่นๆ ในตลาด
AIS ในฐานะผู้ให้บริการจึงต้องเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานไว้ เพราะหากวันหนึ่งวันใดในอนาคตอันใกล้ที่อุตสาหกรรมต่างๆ มีแผนธุรกิจ (business model) ที่เกิดขึ้นและจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี 5G ก็จะพบว่าประเทศไทยนั้นพร้อมแล้วสำหรับการแข่งขัน
ใครที่สนใจงาน “5G the First LIVE in Thailand by AIS” สามารถไปชมกันได้ที่ AIS DC ชั้น 5 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2561 ที่สำคัญชมฟรีและไม่มีค่าใช้จ่าย
ในงานจะมีการจัดแสดงนวัตกรรมของเทคโนโลยี 5G ทั้งหมด 5 บูธด้วยกันคือ
- 5G Super Speed เป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่าย 5G เพื่อให้เห็นถึงความเร็วในการรับส่งสัญญาณ (Throughput) และความหน่วง (Latency)
- 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot เป็นการสาธิตประสิทธิภาพการตอบสนองที่รวดเร็วของเครือข่าย 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สามตัวในการหาจุดสมดุล ที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลางกระดาน การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G
- 5G for Industry 4.0 หุ่นยนต์จะมีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 การทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำและความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งจะทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสาธิตหุ่นยนต์ YuMi® Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G
- 5G Virtual Reality – immersive video การสาธิต การดูวีดีโอที่แสดงสภาวะเสมือนจริง (immersive video) ผ่านเครือข่าย 5G ผู้ที่ใส่แว่นตา VR จะสามารถมองเห็นได้รอบด้าน 360 องศา การดูวีดีโอ VR ที่มีความคมชัด ต้องการ bandwidth ที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการถ่ายทอดสด หรือ live streaming
- 5G FIFA Virtual Reality ทดลองความเร็วของเครือข่าย 5G ด้วยตัวคุณเอง โดยการเตะลูกบอล Virtual Reality ที่จุดโทษผ่านเครือข่าย 5G
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา