กระทรวงแรงงานสิงคโปร์เปิดผลสำรวจแรงงานประจำถิ่น พบว่า รายได้จริงซึ่งเป็นปัจจัยเงินเฟ้อฟื้นตัวกลับมาเหนือระดับติดลบในปี 2023 แล้ว แต่ประชากรสูงวัยก็ยังส่งผลกระทบต่อกำลังแรงงานอยู่ และนี่คือ 5 แนวโน้มที่สรุปได้จากรายงานดังกล่าว
หนึ่ง ชั่วโมงทำงานลดลง
ในปี 2024 แรงงานที่มีทั้งพลเมืองสิงคโปร์และผู้มาอาศัยอยู่ถาวร ทำงานเฉลี่ย 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นี่ถือว่าน้อยกว่าช่วงปี 2010 ถึง 5 ชั่วโมง ช่วงนั้นคนทำงานเฉลี่ย 46.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
การลดชั่วโมงการทำงานลงดังกล่าว มักพบเห็นได้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักเกิดจากการลดชั่วโมงทำงานของพนักงาน full-time ด้วย และมักจะพบในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดการ ผู้บริหาร และช่างเทคนิค (กลุ่ม PMETs: Professionals, managers, executives & technicians) รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย (แม้กลุ่ม non-PMETs จะทำงานยาวนานกว่ากลุ่ม PMETs แต่ก็พบว่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม non-PMETs ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ลดลงมากกว่า)
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนให้มีชั่วโมงการทำงานที่ลดลงและมีความสม่ำเสมอมากขึ้น ก็เนื่องมากจากประสิทธิภาพของงานที่ดีขึ้น อันเนื่องมาจากการได้ฝึกอบรม จากเทคโนโลยี และงานการจัดการทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งสัดส่วนการทำงานที่ลดชั่วโมงกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ลงนี้ ก็มีระดับลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 16.9% ในปี 2024 ลดลงจากปี 2023 อยู่ที่ 17.3% และลดจาก 28.4% ในปี 2014
สอง ทิศทางรายได้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
คนจำนวนมากมีความก้าวหน้าทางรายได้ดีขึ้นโดยเฉพาะช่วงหลังโควิดนับตั้งแต่ปี 2021-2024 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดระบาดในปี 2016-2019 ช่วงหลังโควิด ราว 3 ใน 5 ของแรงงานมีรายได้ดีขึ้นอย่างน้อย 5% ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มที่มีรายได้น้อยจะมีสัดส่วนของแรงงานที่มีรายได้เติบโตอย่างน้อย 5%
สำหรับภาคส่วนที่มีรายได้สูงขึ้น ก็คืองานในภาคบริการทางการเงิน การประกันภัย การให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร มีความคล่องตัวเรื่องรายได้มากขึ้น บริษัทเหล่านี้มีการปรับเงินเดือนให้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อดึงดูดคนที่มีความสามารถและเพื่อรักษาคนที่มีศักยภาพให้ยังอยู่กับองค์กรต่อไป
สาม พนักงานประจำแพลตฟอร์มน้อยลง
พนักงานประจำแพลตฟอร์มลดลงจากปี 2023 อยู่ที่ 70,500 คน เป็น 67,600 คนในปี 2024 เหตุผลหลักๆ จำนวนผู้ขับรถแท็กซี่และผู้ขับรถยนต์เช่าส่วนบุคคลน้อยลง
กระทรวงแรงงานสิงคโปร์มองว่า เหตุที่คนทำงานประจำแพลตฟอร์มน้อยลง ก็น่าจะมาจากโอกาสจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นที่กระตุ้นให้คนทำงานประจำในแพลตฟอร์ม ซึ่งก็มีคนถึง 9 ใน 10 ที่ทำงานประจำในแพลตฟอร์มก็เพราะว่าเขาชอบในงานที่เขาทำนั่นเอง ซึ่งสัดส่วนคนอายุ 50 ปีขึ้นไปและคนที่ไม่ได้รับการศึกษาเพิ่มก็ยังถือเป็นคนส่วนมากที่ทำงานประจำบนแพลตฟอร์มอยู่
สี่ ภาพรวมอัตราการว่างงานลดลง แต่ยังเพิ่มขึ้นในบางกลุ่ม
อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ 2.3% เหมือนปี 2023 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มคนที่ว่างงานคือคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ก็ยินดีที่จะทำงานเพิ่ม ส่วนคนที่อยู่นอกตลาดแรงงานคือคนที่ไม่ได้มองหางานจริงจัง เพราะเชื่อว่าหางานยังไง ก็ไม่ได้งานทำอยู่ดี
กระทรวงแรงงานรายงานว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจมหภาคล่าสุด พบว่า กลุ่มคนทำงานบางกลุ่มประสบปัญหาที่จะหางานให้เหมาะกับทักษะของตัวเอง มีความเสี่ยงที่จะว่างงาน อีกทั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (PMETs) ที่ถูกเลิกจ้างและแรงงานสูงวัยจะกลับเข้าสู่วัฏจักรการทำงานอีกครั้งภายใน 6 เดือนหลังการเลิกจ้าง
ห้า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น บางอุตสาหกรรม
อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมข้อมูลและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.8% ในปี 2023 เป็น 5% ในปี 2024 ขณะที่อุตสาหกรรมภาคบริการทางการเงินและประกันภัย เพิ่มขึ้นจาก 3% เป็น 3.8%
ที่แนวโน้มเป็นเช่นนี้ก็สืบเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างของธุรกิจที่ไ้ด้รับผลกระทบจากเสรษฐกิจโลกที่ตกต่ำลง ทำให้ทั้งสองภาคอุตสาหกรรมกระทบไปด้วย
ที่มา – The Straits Times
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา