เจาะลึก 5 เทรนด์เทคโนโลยีปี 2018 | G-ABLE แนะ ปรับตัวอย่างไรในโลกยุค Digital Transformation

โลกในยุคที่ดิจิทัลขึ้นมามีบทบาทสูงและส่งผลกระทบต่อทุกวงการ G-ABLE ในฐานะบริษัทที่ทำงานด้านไอทีและเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน มาชวนให้เราเจาะลึกถึงเทรนด์เทคโนโลยีในปีหน้า และให้คำแนะนำในการปรับตัวภายใต้ยุค Digital Transformation

ซ้าย-คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท จีเอเบิล จำกัด ขวา-คุณปาจรีย์ แสงคำ ประธานบริหารกลุ่มงานโซลูชันและเทคโนโลยีกลุ่มบริษัท จีเอเบิล จำกัด

เจาะลึก 5 เทรนด์เทคโนโลยีปี 2018

ในโลกยุคที่ Digital Transformation กำลัง Disrupt ทุกวงการ ทุกอุตสาหกรรม และทุกองค์กร เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชื่อดังด้านไอทีได้เขียนบทความ “Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2018” โดยระบุว่า 10 เทรนด์เทคโนโลยีในปีหน้าที่มาแรงจะขึ้นอยู่กับ 3 ส่วนหลักดังต่อไปนี้

  • Intelligent ทั้งหลายเช่น AI และ IoT
  • Digital เช่น Cloud, Chatbot และ AR/VR
  • Mesh เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกัน เช่น Blockchain เป็นต้น

แต่ถ้าพูดแค่นั้นดูจะเป็นนามธรรมจนเกินไป G-ABLE บริษัทผู้พัฒนาและให้บริการด้านระบบไอทีและดิจิทัลในประเทศไทยมากว่า 29 ปี ได้จัดเสวนากลุ่มย่อย พร้อมแนะแนวทางกระแสเทคโนโลยีปีหน้าโดยสรุปมาให้เหลือ 5 เทรนด์ที่จับต้องได้ดังนี้

1. ยุคแห่งการพิมพ์ใกล้จบลงแล้ว ยุคต่อไปคือการสั่งงานด้วยเสียง

เทรนด์แรกที่มาในปีหน้าคือ Voice & Visual Search เพราะต่อไปการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตจะเป็นระบบการสั่งงานด้วยเสียงมากขึ้น

คุณปาจรีย์ แสงคำ ประธานบริหารกลุ่มงานโซลูชันและเทคโนโลยีกลุ่มบริษัท จีเอเบิล จำกัด กล่าวว่า “ยุคแห่งการพิมพ์ใกล้จบลงแล้ว เพราะการสั่งงานด้วยเสียงเป็นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ เทรนด์นี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ไวและง่ายกับแวดวงไลฟ์สไตล์ เช่น E-commerce และ Home automation”

  • ในปีหน้า เทคโนโลยีจำพวก VPA (Voice Personal Assistant) ยกตัวอย่างเช่น Alexa, Google Assistant, Bixby หรือ Siri จะมีความสามารถสูงขึ้นจนกลายเป็นผู้ช่วยที่มีประสิทธิภาพ
  • Global Trend คาดการณ์ว่าในปี 2020 ทุกบ้านจะมีอุปกรณ์ VPA เฉลี่ยอย่างน้อย 2 ตัวต่อหนึ่งครอบครัว
  • อุปสรรคตอนนี้คือเรื่องภาษา เพราะอย่างที่เห็นกันว่าการสั่งงานด้วยเสียงในภาคภาษาไทยยังเป็นอุปสรรคในการทำงานอยู่ แต่ทาง G-ABLE เชื่อว่าอีกหลายบริษัทก็กำลังพัฒนาให้ภาษาไทยใช้งานได้ดีขึ้น เพราะ G-ABLE ก็เร่งทำอยู่เช่นกัน

2. การสื่อสารรูปแบบใหม่ มนุษย์กับหุ่นยนต์ | Chatbot

เทรนด์นี้คือ Conversational Platform เป็นรูปแบบการตอบโต้ของหุ่นยนต์กับมนุษย์ คุณปาจรีย์ มองว่าด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ Chatbot สามารถให้ข้อมูลได้ตรงจุดกับมนุษย์มากขึ้น ที่สำคัญในทางจิตวิทยา การพูดคุยผ่านการแชทในบางเรื่อง โดยเฉพาะที่เป็นเชิงข้อมูลยังคงมีความสำคัญ และแน่นอน ถ้าเป็นเรื่องเชิงข้อมูลหุ่นยนต์ทำได้ดีกว่าคนอยู่แล้ว

  • นั่นเป็นเพราะว่า Chatbot สามารถประมวลผลผ่านข้อมูลอันมหาศาล (Big Data) โดยมี AI หรือ Machine Learning อยู่เบื้องหลัง
  • แต่ประเด็นคือ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับอารมณ์และประสบการณ์ของลูกค้า มนุษย์ยังคงจำเป็นในส่วนนี้
  • อีกอย่างที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดของ Chatbot คือ การไม่สามารถคุยหลายเรื่องในคราวเดียวได้ ทางออกที่ G-ABLE มองไว้คือ การตั้งประเด็นเรื่องราวที่ชัดเจน (Set a Clear Topic) และคุยเป็นเรื่องๆ จะทำให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุด

3. สกุลเงินดิจิทัลมาแน่ ผู้ออกกฎ (ไทย) ต้องตามให้ทัน

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะไปที่ไหน หนึ่งในประเด็นสุดฮอตที่ต้องหยิบยกขึ้นมาพูดคือ Bitcoin ถ้าเรียกรวมๆ ประเด็นนี้คือเรื่องใหญ่ที่เรียกว่า Cryptocurrency หรือแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ คือ สกุลเงินดิจิทัล

ในโลกยุคที่เชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่เพียงแต่ข้อมูลเท่านั้นที่มีการส่งผ่านถึงกันแบบเรียลไทม์ แต่เรื่อง “เงิน” ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญและมีอิทธิพลขึ้นทุกวัน คุณปาจรีย์ ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่ตอนนี้ได้ประกาศให้ค่าเงินเยนผูกกับสกุลเงินดิจิทัล Bitcoin เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“ญี่ปุ่นเขารู้ว่าเขาหยุดกระแสนี้ไม่อยู่แน่ๆ แต่เขาปรับตัวไว เรามองว่า Regulator ของไทยก็ต้องปรับตัวให้ทันเช่นกัน ทางเลือกมีอยู่ 2 ทางคือ ถ้า Regulator จะใช้วิธีการควบคุม ระบบต้องประสิทธิภาพต้องดี แต่อีกโมเดลคือร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์ แล้วทำงานร่วมกันเหมือนที่ญี่ปุ่นกำลังทำอยู่ก็ได้”

4. เทคโนโลยีสร้างภาพจำลองเสมือนจริง, ที่จริงจนยากจะแยกออก

เทรนด์ต่อมาคือ Counterfeit Reality โดยจะเป็นการสร้างเรื่องราวที่ดูสมจริงขึ้นมา สามารถลอกเลียนเหตุการณ์จริง สถานที่จริง และสิ่งมีชีวิตจริงได้ด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality)

คุณปาจรีย์ มองว่าเทคโนโลยีตัวนี้สามารถนำมาใช้ในการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งของเหรียญก็ต้องระมัดระวัง “ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเราเจอ Photoshop ยังพอแยกได้ แต่ยุคหน้าจำลองเสมือนจริงเป็น Video คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแยกเท่าไหร่”

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรู้เท่าทัน บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ อย่าง Facebook และ Google กำลังลงทุนจำนวนมากเพื่อจัดการกับ Unethical Information เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอนจากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้

5. 95% ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในยุคหน้าจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

เทรนด์สุดท้ายที่จะพูดถึงคือ IoT หรือ Internet of Things ที่อุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์จะถูกเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทั้งหมด มากกว่านั้นข้อมูลทั้งหมดจะถูกประมวลผลแบบเรียลไทม์ อุปกรณ์ที่เห็นได้ชัดในตลาดคือ กลุ่มจำพวก Smart Home ทั้งหลาย

  • สำหรับในประเทศไทย เทรนด์นี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องก้าวข้าม Dilemma ของ Demand กับ Supply ไปให้ได้ พูดง่ายๆ คือ ต้นทุนของการพัฒนา IoT ในสังคมไทยยังสูง เพราะยังไม่มี IoT Network มีแต่ Data Network ซึ่งประการสำคัญคือ IoT ไม่ได้ต้องการใช้ Network ที่หนักเท่ากับ Data
  • ถ้าสังคมไทยก้าวข้าม Dilemma ตรงนี้ไปได้ จะทำให้ IoT เกิดขึ้นได้ไม่อยาก เพราะจากสถิติระบุว่า คนไทยกว่า 10.7 ล้านครัวเรือนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานได้
  • Smart Farm จำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้ IoT ภาครัฐมีส่วนสำคัญแน่ เพราะถ้าก้าวข้ามจุดนี้ไปได้ สังคมไทยก็จะพร้อมอย่างมากกับการรับมือเทรนด์เทคโนโลยีในอนาคต

เห็นเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2018 กันแล้ว คำถามที่ต้องการคำตอบต่อไปก็คือ อุตสาหกรรมแบบไหนที่จะถูก Disrupt บ้าง และมากกว่านั้นเราจะรับมือ ปรับตัวอย่างไรให้สอดคล้องในยุค Digital Transformation

อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจาก Digital Transformation

  • Retail : ค้าปลีกกระทบเต็มๆ นับตั้งแต่การเกิดขึ้นและบูมของอีคอมเมิร์ซในช่วงหลังมานี้ ทำให้ค้าปลีกรูปแบบเดิมไม่สามารถประคองตัวธุรกิจอยู่ได้ พากันล้มหายและลาจากวงการไปหลายราย ค้าปลีกที่จะอยู่ได้ต้องเป็นค้าปลีกที่อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว แต่มากกว่านั้นคือการทำ Visual Search คือเมื่อเห็นสินค้าชิ้นนั้นที่ไหนบนโลกก็ตาม แค่ถ่ายรูป จะรู้เลยว่าสินค้าตัวนี้มีชื่อว่าอะไร มีสีไหนบ้าง ขายที่ใด และราคาเท่าไหร่
  • Regulator : อีกภาคส่วนที่สำคัญคือผู้ออกกฎ-ผู้ควบคุม พูดง่ายๆ คือส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐ จำเป็นจะต้องปรับตัวให้ทัน ทางเลือกอย่างน้อย 2 ทางคือ จะออกมาคุมกฎหรือจะร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ ทิศทางเหล่านี้สำคำคัญและต้องเร่งทำให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะพบกับปัญหาและอุปสรรคที่ตามมาอีกมาก
  • Media : การเข้ามาของ AR/VR จะทำให้การแยกแยะระหว่างความจริง/ความลวงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากขึ้น การตรวจสอบข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ทวีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม “คอนเทนต์ (ที่ดีและมีคุณภาพ)จะราคาแพงขึ้น” แต่ในทางกลับกัน แง่ดีก็มี เพราะจะทำให้วงการสื่อต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไปทำให้เกิดการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น การจัดคอนเสิร์ตโดยใช้ AR/VR จำลองเหตุการณ์มาแบบเรียลไทม์
  • Service : การให้ข้อมูลในอุตสาหกรรมบริการไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์เป็นแกนหลักของการทำงานอีกต่อไป เพราะข้อมูลเบื้องต้นแต่ละเอียด เจาะลึก วิเคราะห์บนฐานของข้อมูลหุ่นยนต์จะทำได้ทั้งหมด เช่น Chatbot แต่มนุษย์ก็ยังคงความสำคัญในแง่การให้คำแนะนำในแง่ประสบการณ์ เพราะลูกค้าอาจเบื่อหน่ายถ้าต้องคุยกับหุ่นยนต์อยู่เสมอ
  • Manufacturing และ Real Estate : โรงงานและอสังหาริมทรัพย์จะสามารถนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาทำให้เกิดการลดต้นทุนครั้งสำคัญ เช่น ใช้ IoT มาทำงาน เชื่อมต่อกับระบบ AI แล้วให้ทำงานด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุมเหมือนสมัยก่อน
คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท จีเอเบิล จำกัด

คำถามใหญ่ : แล้วควรปรับตัวอย่างไรในยุค Digital Transformation

คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท จีเอเบิล จำกัด ให้คำตอบที่น่าสนใจไว้โดยบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือธุรกิจในอุตสาหกรรมใดๆ ในสภาวะของการปรับตัวจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง การลงมือทำคนเดียวอาจไม่ดีเท่ากับการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การทำ Digital Tranformation ไม่ใช่เรื่องรอง แต่ต้องเป็นเรื่องหลัก … และในฐานะที่ทำงานที่ G-ABLE จึงขอตอบในมุมมองของ G-ABLE เป็นหลัก แต่แน่นอน จะสอดคล้องกับบริษัทและองค์กรอื่นๆ ไปด้วย”

สำหรับ G-ABLE คุณสุเทพ กล่าวว่า “ด้วยความที่เราเป็นบริษัทเทคโนโลยีอยู่แล้ว จึงทำให้การปรับตัวไม่ยากนัก แต่มีสองสิ่งที่ต้อคำนึงไว้เสมอคือ Speed และ Impact ถ้าองค์กรสามารถทำได้ High ทั้ง 2 อย่าง ก็จะอยู่รอด”

แน่นอนว่าในปัจจุบัน เราจะเห็นหลายบริษัทพยายามจะตั้งทีมดิจิทัล สำหรับ G-ABLE เองเสนอว่า ด้วยความเป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าไปช่วยเหลือในการทำ Digital Transformation ได้ 3 รูปแบบคือ

  1. บทบาทในฐานะ Accelerator : ในส่วนนี้ G-ABLE สามารถเข้าไปช่วยทำให้กระบวนการทำงานองค์กร Transorm เร็วขึ้น เป็นลักษณะ Outsource ด้านไอที ทำให้บริษัทยังสามารถโฟกัสที่งานหลักของตัวเองได้
  2. บทบาทในฐานะ Digital Builder : ในบางส่วนของการทำ Digital Transformation บริษัทอาจจะต้องเจอกับแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน เช่น Private and hybrid cloud platform, Big Data platform หรือ IoT platform ในส่วนนี้ G-ABLE สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างระบบขึ้นมาได้
  3. บทบาทในฐานะ Digital Partnership : ในจุดหนึ่งบางบริษัทอาจต้องการการทำงานร่วมแบบลงทุนไม่ว่าจะเป็น Co-Creation หรือ Co-Investment ด้าน G-ABLE ก็พร้อมที่จะร่วมมือเพื่อสร้างนวัตกรรในทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน

นอกจากนั้น คุณสุเทพ ยังเน้นถึงการร่วมมือทางธุรกิจของ G-ABLE กับบริษัทต่างๆ ในการทำ Digital Transformation ว่า G-ABLE มีหัวใจหลักที่สร้างความโดดเด่นอยู่ 4 ประการดังนี้

  1. สินค้าและบริการ : ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยและความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
  2. กระบวนการทำงาน : ต้องสอดคล้องและยืดหยุ่น เช่น การทำงานแบบ agile หรือนำเอาเครื่องมือใหม่มาใช้งาน
  3. บุคลากร : ต้องเชี่ยวชาญเทคโนโลยีในแนวลึกและเข้าใจเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นยังสามารถสื่อสารและรับฟังความต้องการของลูกค้าได้
  4. ระบบนิเวศน์ : พันธิตรของ G-ABLE ค่อนข้างแข็งแกร่ง มีทั้ง Regulator, Acdemia, Startups และ Merchants เชื่อว่าทั้งหมดนี้จะทำให้ลูกค้าจะได้รับ Business Outcome ที่ดีอย่างแน่นอน

เกี่ยวกับ G-ABLE

G-ABLE คือบริษัทผู้พัฒนา, ติดตั้งจนถึงให้บริการด้านระบบ IT และ Digital ในไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรกับบริษัทชั้นนำระดับโลกในด้าน Modern Digital Solutions, Enterprise Business Solutions และ IT Infrastructure Solutions โดยมีกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในภาคเอกชนและรัฐบาล

www.g-able.com

G-Able พร้อมให้บริการและคำปรึกษาให้ทุกธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล 
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ inquiry@g-able.com หรือ
โทร 02-781-9333

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา