ส่อง 5 เทรนด์ธุรกิจการตลาด 2021 ปีที่ธุรกิจต้องไปต่อ หลังฝ่า Waves Of Plague

ปี 2021 จัดว่าเป็นปีแห่งความท้าทายของธุรกิจรอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ฟื้นตัวอย่างช้า จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ความท้าทายการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค และความถาโถมของเทคโนโลยีที่เข้ามา โดยมี 5 เทรนด์ธุรกิจการตลาด ที่จะเกิดขึ้นในโลกของธุรกิจ ที่ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดเพื่อการสร้างการเติบโตในก้าวย่างต่อไป

plant-based food more meat

Trend 1: Food for the future

อีกหนึ่งเทรนด์ที่มาอย่างแน่นอนในปี 2021 โดยเฉพาะ Plant-based  อาหารที่ผลิตจากพืช ที่เป็นกระแสมาแรงต่อเนื่องจากในปี 2020 แต่ Plant-based 2021 อาหารที่ทำจากพืชจะลงลึกมากกว่าแค่เป็นอาหารที่ทำผลิตจากพืชและมีรสชาติที่อร่อยไม่แตกต่างจากเนื้อสัตว์ แต่จะเป็น  Immune System Boosting of Plant-based หรือเมนูอาหารที่ทำโปรตีนจากพืชและช่วยเสริมคุ้มกันให้กับร่างกาย 

เทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากผู้บริโภคจะให้ความสำคัญอาหารที่สร้างความสมดุลของระบบลำไส้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองมากขึ้น หลังจากพบว่า  ภูมิคุ้มกันเป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับต้น ๆ สำหรับผู้คนในจีนและแอฟริกาใต้ ประกอบกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ดังนั้นในปี 2021 เมนูอาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกจากพืชจะได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกระเทียมถั่วเหลืองถั่วแดงไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่างๆเป็นต้นและยังมีเทรนด์ของอาหารที่จะเกิดขึ้นดังนี้ได้แก่

  • อาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Foods) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี
  • อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ (Functional Foods and Drink) ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นกับร่างกาย ซึ่งอยู่ในทั้งเครื่องดื่มซอฟต์ดริงก์และเครื่องดื่มเข้มข้น หรือกระทั่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • อาหารทางการแพทย์ (Medical Foods) เป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้บำบัดผู้ป่วยเฉพาะโรคได้แก่โรคเบาหวานโรคไต
  • อาหารแห่งนวัตกรรม (Novel Foods) อาหารที่เป็นนวัตกรรมขั้นสูงเช่นการใช้นาโนเทคโนโลยีรวมทั้งแหล่งอาหารใหม่เช่นแมลงสาหร่ายและยีสต์
e commerce
ภาพจาก Shutterstock

Trend 2: The Future Harmonization Retail

เทรนด์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่องของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ที่ขับเคลื่อนธุรกิจดำเนินกลยุทธ์ที่ประสานทุกๆ ด้านทุกๆ ช่องทางให้ก้าวเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเต็มตัว แม้ว่าค้าปลีกของไทยจะพยายามมองว่า การช้อปปิ้งเป็นไลฟ์สไตล์ของคนไทย แต่สุดท้ายศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า จะเป็นเพียงแค่สถานที่ที่สร้างประสบการณ์การณ์ช้อปปิ้งและมาจบท้ายที่การตัดสินใจซื้อผ่านทานออนไลน์แพลตฟอร์ม เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ดิจิทัล พฤติกรรมการช้อปปิ้งจึงเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยคาดการณ์ว่าการช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีสัดส่วน 40-50% ของยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในอนาคต

เทรนด์ค้าปลีก 2021 ที่ให้คำนิยามว่า The Future Harmonization Retail ธุรกิจค้าปลีกจะผสานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI เทคโนโลยีการช็อปปิ้งขั้นสูงการใช้ซอฟต์แวร์จดจำภาพลูกค้าเพียงแค่หยิบของที่ต้องการแล้วไปโดยไม่ต้องรอต่อแถวเพื่อเช็คเอาท์จะเริ่มเกิดขึ้นกับค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียมากขึ้นส่วนหนึ่งมาจากอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ต่างๆที่เริ่มมีราคาถูกลงและมีฟีเจอร์การใช้งานครอบคลุม

ขณะที่แบรนด์ต่างๆ จะพยายามสร้างช่องทางการขายของตัวเอง Direct-to-customer (D2C) โดยไม่ผ่านตัวกลางไม่ว่าจะเป็น ค้าปลีก หรือกระทั่งมาร์เก็ตเพลสจะเป็นเพียงแค่ช่องทางหนึ่งที่ต้องมีเท่านั้น แต่แบรนด์ต่างๆ จะหันมาขับเคลื่อนทั้งเว็บไซต์ของตัวเอง การใช้โซเชียลคอมเมิร์ซ Social Commerce ทั้ง LINE, Instagram จนถึง Streaming หรือกระทั่งการนำ AI มาพัฒนาโปรแกรมเพื่อวิเคราะห์ใบหน้า การแต่งกาย และเชื่อมโยงกับระบบการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ได้เลย ยกตัวอย่าง Pepsico สร้างเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภคโดยตรงสำหรับขนมของพวกเขาโดยไม่จำเป็นต้องผ่านบุคคลที่สาม

Social Commerce
ภาพจาก shutterstock

Trend 3: Consumer Behavior 2021

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลก ไม่แปลกที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเกิดความเปลี่ยนแปลง จึงเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่นักการตลาดต้องตีโจทย์ให้แตก  เพราะการเปลี่ยนแปลงจะปัจจัยที่กำหนดทิศทางการตัดสินใจของการวางกลยุทธ์ในปี 2021

  • Value-based spending การซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะเกิดแนวคิดการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์เทียบกับมูลค่าที่แท้จริงซึ่งผู้บริโภคกำลังซื้อน้อยลงและมุ่งเป้าไปที่คุณภาพที่ดีขึ้นเมื่อซื้อสินค้าและผู้บริโภครายอื่นมีความอ่อนไหวต่อราคามากเต็มใจที่จะลองใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อประหยัดเงินขณะเดียวกันการเลือกซื้อสินค้าจะคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขอนามัย
  • Hyperlocal and on-demand purchasing ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปซื้อจากที่ใดก็ตามที่สามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุด ทำให้ธุรกิจทั้งใหญ่และเล็กประเมินห่วงโซ่อุปทานและรูปแบบธุรกิจของตนใหม่ รวมทั้งเริ่มหันมาซื้อสินค้าผ่านทางโซเชียลคอมเมิร์ซ หรือการไลฟ์ สตรีมมิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งยุโรปและอเมริกาซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน ที่ใช้กลยุทธ์การขายสินค้าดังกล่าวในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และได้รับการตอบรับที่ดีในกลุ่ม GenZ
Zoom
Modern Multiethnic business team having discussion and online meeting in video call

Trend 4: Bussiness Challenge 2021

ธุรกิจทั่วโลกยังคงเผชิญกับความท้าทายภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แม้ว่าหลายประเทศจะเริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้กับประชาชนไปแล้วก็ตามแต่เศรษฐกิจที่ถดถอยลงอย่างหนักหลากหลายธุรกิจต้องหยุดชะงักโดยเฉพาะธุรกิจสายการบินอุตสาหกรรมท่องเที่ยวร้านอาหารโรงแรมหลายประเทศเกิดภาวการณ์ว่างงานกระทบต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลง

ดังนั้นการตลาดในปี 2021 จึงเป็น การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดหรือประคองธุรกิจอย่างไร หลังจากที่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวเร็วที่สุดในช่วงกลางปี 2021 ธุรกิจต่างๆ ต้องมีความยืดหยุ่นและเตรียมพร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรวดเร็วที่ตอบสนองกับความต้องการหรือสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่ทำให้คุณภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นรอบด้านจะสามารถอยู่รอดได้

black live matter เทรนด์ธุรกิจการตลาด
ภาพจาก shutterstock

Trend 5: แบรนด์คนดี จริงใจต่อสังคมและรักษ์โลก

หนึ่งในปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุค 2021 แบรนด์หรือสินค้าต้องเป็นแบรนด์ที่แสดงถึงความจริงใจต่อสังคมไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของเชื้อชาติความเท่าเทียมทางเพศสัตว์ร่วมโลกแรงงานหรือกระทั่งการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมทั้งการใช้แพกเกจจิ้งที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดเป็นต้น

โดยผู้บริโภค Gen Z และ Millenials เป็นกลุ่มที่คาดหวังว่าแบรนด์ที่ตนเองติดตามจะต้องมีจุดยืนไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมสิ่งแวดล้อมซึ่งแบรนด์สามารถสะท้อนจุดยืนอัตลักษณ์ของแบรนด์และการสร้างแบรนด์ผ่านการพูดคุยบนโซเชียลมีเดียเช่นเดียวกับการจับคู่กับบุคคลที่เป็นที่นิยมในการเคลื่อนไหวการออกแบบตราสินค้าโลโก้และบนเว็บไซต์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของแบรนด์ที่เป็นคนดี

ยกตัวอย่าง Nike ออกแคมเปญ For once, don’t do it หลังจาก Grorge Floyd ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตจากการโดยหน้าที่ตำรวจจับกุมและใช้เข่ากดไปที่ลำคอ ซึ่งตรงกับข้ามกับสโลแกนที่ใช้ตลอดกว่า 30 ปี Just do it เพื่อสื่อสารว่า จงหยุดเพิกเฉยต่อปัญหาการเหยียดสีผิวที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงแบรนด์ที่มีส่วนร่วมผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่ออกมาต่อต้านการเหยียดสีผิวในกรณีดังกล่าว เช่น Unilever (ยูนิลีเวอร์), Coca-Cola (โคคาโคล่า) และ Honda (ฮอนด้า)

หรือในประเทศไทยที่ชัดเจน ผู้บริโภคก็เรียกร้องให้แบรนด์แสดงจุดยืนไม่สนับสนุนความรุนแรง หรือจุดยืนบางอย่างทางการเมือง ซึ่งหากแบรนด์ไม่ชัดเจนในเรื่องนี้อาจโดนแบนจากผู้บริโภคจำนวนหนึ่งได้

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา