5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการเขียนบทความ!

fastwork

หลายๆ คนคงมีความคิดที่ว่าการเขียนบทความไม่มีความสำคัญแต่อย่างใดเท่ากับคิดเนื้อหา ออกแบบ และอีกมากมาย แต่กระนั้นการเขียนบทความถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มยอดขาย เพิ่มการเข้าถึงแบรนด์ รวมไปถึงสามารถทำอันดับให้กับเว็บไซต์ โดยเฉพาะติดอันดับต้น ๆ ของ Google อย่าง การเขียนบทความ SEO เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการเขียนบทความ ไม่ใช่ว่าจะเขียนขึ้นมากันได้ง่าย ๆ ซึ่งต้องใส่ใจในเรื่องของคุณภาพ ทั้งมีความกระชับ เข้าใจง่าย ได้ใจความ และใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นเท็จ เพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้ตั้งแต่แรกจนจบ ดังนั้นเราจึงจะมาเผยเทคนิคการเขียนบทความและสิ่งที่ไม่ควรทำขณะเขียนบทความ เพื่อให้คนที่สนใจในด้าน ช่วยให้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ใช้สำหรับการเขียนมากขึ้น

หลักการเขียนบทความที่ถูกต้อง ทำได้แสนง่าย

การเขียนบทความให้ถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเขียน โดยมาจากความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่อยากสื่อให้ได้รู้ รวมไปถึงใช้ในเชิงการตลาด ความรู้ หรือสำหรับทำ SEO ซึ่งบทความที่ดีจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ความคิด เนื้อหาสาระ และภาษา ดังนั้นการเขียนบทความจำเป็นต้องกำหนดโครงสร้าง เพื่อเป็นกรอบใช้ในการกำหนดเนื้อหาการเขียน ด้วยสำนวนภาษาที่ดีเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างได้ และเนื้อหาที่เหมาะสม ซึ่งโครงสร้างการเขียนบทความ ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังต่อไปนี้

fastwork

1. กำหนดชื่อเรื่อง

ชื่อเรื่องเป็นส่วนแรกที่ดึงดูดและเพิ่มความสนใจให้แก่ผู้อ่านบทความ ซึ่งการตั้งชื่อเรื่องที่ดี ควรบอกใจความสำคัญ หรือประเด็นหลักของเรื่อง โดยต้องมีความกระชับและสั้นได้ใจความ อ่านแล้วอยากอ่านเนื้อหาต่อ ทั้งนี้การกำหนดชื่อเรื่องให้มีความน่าสนใจก็มีอยู่ด้วย 4 ลักษณะ

  • กำหนดชื่อเรื่องแบบคำถาม : การตั้งชื่อเรื่อง โดยเป็นลักษณะคำถาม กระตุ้นความอยากรู้ของผู้อ่าน เพื่อให้เข้ามาอ่านบทความที่อยากรู้เพิ่มเติมได้
  • กำหนดชื่อเรื่องแบบคำพูด : ถือเป็นเทคนิคที่ง่ายที่สุดแล้ว โดยจะนำประเด็นหลักในเนื้อหาของเรื่องที่เขียนนำมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง ซึ่งผู้อ่านสามารถตัดสินใจได้ทันทีว่าสนใจเนื้อหาต่อไปหรือไม่
  • กำหนดชื่อเรื่องแบบสรุป : บ่งบอกถึงเนื้อหาภายในบทความให้เข้าใจทันทีว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และถ้าอยากรู้เรื่องนั้น ๆ ก็จะอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม
  • กำหนดชื่อเรื่องแบบอุปมาอุปมัย : ตั้งชื่อเรื่องเป็นการเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อย คือ การเปรียบเทียบสินค้า เป็นต้น

2. บทนำของบทความ (เกริ่น)

เป็นเนื้อหาที่ใช้สำหรับดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามเนื้อเรื่องต่อไปจนจบ ควรมีลีลาการเขียนที่กระชับเข้าใจง่าย ตรงประเด็น อย่างการนำเสนอเนื้อหาหลัก พร้อมกระตุ้นความอยากรู้ให้มากขึ้น และต้องสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันทีว่า กำลังอ่านประเด็นเรื่องหรือเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

3. เนื้อหาหรือเนื้อหาเรื่อง

เป็นส่วนสำคัญในการเขียนบทความ เพราะเนื้อหาต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลมามากมายหลายแห่ง ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในตัวบทความมากขึ้น พร้อมใช้เทคนิคการเขียนในรูปแบบของตนเอง เพื่อสื่อสารเนื้อหาหรือประเด็นหลักให้แก่ผู้อ่านเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ไม่ควรคัดลอกบทความของผู้อื่นโดยสิ้นเชิง เพราะอาจทำให้ผู้เขียนเกิดความเสียหายได้

4. บทสรุปทิ้งท้าย

การสรุปทิ้งท้ายช่วยเสริมประเด็นสำคัญให้ผู้อ่านเข้าใจ อาจเพิ่มทางเลือกเพิ่มเติมให้แก่ผู้อ่านเข้าไปด้วยได้ เช่น อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อ่าน เป็นต้น อีกทั้งเป็นส่วนที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี ซึ่งควรเขียนให้กระชับได้ใจความ ไม่ยาวจนเกินไป

5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการเขียนบทความ ถ้าอยากให้กลุ่มเป้าหมายสนใจ

1. ข้อมูลไม่ถูกต้อง

การใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในการนำมาเขียน จะเป็นการสร้างความสับสนให้แก่ผู้อ่าน สิ่งที่ถูกต้องผู้เขียนควรค้นคว้าหาความรู้ และเลือกใช้ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งที่น่าเชื่อถือที่สุด เพื่อเป็นการพิสูจน์ยืนยันได้ว่าไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ เรายังสามารถนำไปใช้ Link ให้ผู้อ่านหาความรู้เพิ่มเติมได้อีกด้วยหากเป็นการใช้แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง

2. คัดลอกเนื้อหา

สำหรับการคัดลอกเนื้อหาเป็นที่ผิดพลาดร้ายแรง และไม่ควรทำอย่างมาก เพราะอาจทำให้บทความของคุณเป็นประเภท Duplicate Content หรือ Copy ความน่าเชื่อถือจะลดลงทันที ซึ่งเนื้อหาบทความที่ดีต้องมีสาระ โดยเกิดเรื่องราวหรือไอเดียของตนเองมาเขียนใหม่ รวมไปถึงการหาข้อมูลเพิ่มเติมช่วยก็ได้ เพื่อนำมาเขียนให้เป็นเนื้อหาใหม่ที่ไม่เหมือนใคร และต้องเป็น Unique Content เท่านั้น บทความก็จะดูมีความน่าเชื่อถือ และบทความมีคุณภาพนั่นเอง

3. ทำความเข้าใจได้ยาก

หากคุณเลือกใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจได้ยาก ทำให้ตัวบทความไม่มีคุณภาพ ไม่มีทางดึงดูดผู้อ่านได้อย่างแน่นอน ซึ่งไม่ควรใช้ภาษาการเขียนที่ทางการจนเกินไป อาจสอดแทรกอารมณ์ขันเข้าไป เพื่อสร้างความเพลิดเพลินและดึงดูดให้ผู้อ่าน อ่านจนจบอีกด้วย

4. ใช้คำฟุ่มเฟือย

คำฟุ่มเฟือย และมีเนื้อหาที่ยาวจนเกินไปเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้สื่อสารออกมาไม่ชัดเจน และมีความหมายกำกวม ทำให้ผู้อ่านต้องอ่านซ้ำ ๆ หลายครั้ง จนเกิดความสับสนได้ ซึ่งการเขียนบทความที่ดีต้องมีความกระชับ ได้ใจความ

5. ไม่ทบทวนสิ่งที่เขียน

เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามอยู่บ่อย ๆ ก็คือ การทบทวนสิ่งที่เขียนลงไป ซึ่งจริง ๆ แล้วควรทำอย่างมากเพื่อตรวจสอบว่ามีการเขียนถูกต้องหรือไม่ โดยจะพบเห็นได้บ่อยเลย คือ สะกดคำผิดและการใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ตัวบทความไม่มีคุณภาพ และสะท้อนมายังผู้เขียนที่บกพร่องในการสื่อสารออกมาไม่ชัดเจน หรือไม่ตรวจสอบให้ละเอียด ทุกครั้งจึงควร

fastwork

สำหรับการเขียนบทความจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ทั้งด้านเข้าใจภาษา เพื่อขัดเกลาเนื้อหาให้ดูสวยงาม อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก ซึ่งนักเขียนบทความที่มีคุณภาพ จะสามารถเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกมา และดึงดูดผู้อ่านให้อ่านตั้งแต่แรกจนจบเรื่องได้ ด้านการคิดวิเคราะห์ขึ้นใหม่ ไม่คัดลอกเนื้อหา ทำให้เป็นบทใหม่เสมอ ด้านการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้อ่านรับสารอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นบทความนี้หวังว่าจะช่วยให้คุณทราบถึงการเป็นนักเขียนบทความ หรือกำลังหานักเขียน เพื่อตัดสินใจเลือกใช้บริการการเขียนได้มีคุณภาพและเหมาะสมมากที่สุด

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Branded Content เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์