3 ขั้นตอนสุดคลาสสิกในการวางราคาสินค้า – บริการที่ทำให้ธุรกิจเติบโตก้าวกระโดด

ภาพ pixabay.com

การกำหนดราคาสินค้า และบริการ คือปัญหาหนักใจตั้งแต่ SME จนถึงระดับ Enterprise ดังนั้น Brand Inside จึงอาสาแก้ปัญหานี้ ด้วยการนำ 3 วิธีกำหนดราคาสุดคลาสสิกมาช่วยแก้ปัญหา และเป็นหนึ่งในการติดอาวุธธุรกิจให้กับแบรนด์ต่างๆ ด้วย

1.กำหนดราคาอิงโดยจากต้นทุน

การกำหนดราคาโดยอิงจากต้นทุนสินค้า หรือบริการ (Cost Based) ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดก็ว่าได้ เพราะเจ้าของธุรกิจก็คงรู้ต้นทุนของสินค้าอยู่แล้ว นอกจากนี้ผู้บริโภคก็เริ่มค้นหาข้อมูลต้นทุนสินค้าได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการบวกราคาขึ้นไป 20% ของต้นทุนก็คงไม่ใช่เรื่องที่รับได้ทั้งฝั่งผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่หากเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม หรือต้องใช้

2.กำหนดราคาโดยอิงจากคู่แข่ง

ในโลกธุรกิจ คู่แข่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ยิ่งมีคู่แข่งเยอะ และทางแบรนด์เลือกที่จะเอากำไรมากกว่าคู่แข่ง ทั้งที่สินค้า และต้นทุนทางการผลิตก็เท่ากัน ซึ่งจุดจบของการทำแบบนี้คือพ่ายแพ้แบบหมดท่า ดังนั้นการมองคู่แข่ง (Comparables Based) จึงจำเป็น แต่หากคู่แข่งเลือกที่จะลดราคาจนต่ำกว่าทุน การเข้าไปแข่งด้วยก็ยิ่งไม่คุ้ม ดังนั้นต้องศึกษาดูให้ดีว่า ยอมลดกำไรระดับไหนถึงจะคุ้มค่าที่สุด

3.กำหนดราคาโดยอิงจากคุณค่า

การกำหนดราคาโดยอิงจากคุณค่า (Value Based) ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้างยอดขายให้กับธุรกิจเป็นอย่างดี เพราะมีพื้นฐานมาจากความต้องการของลูกค้า ดังนั้นถ้าลูกค้าต้องการมาก โอกาสยอมจ่ายก็สูง และสามารถมีกำไรได้มากกว่าการตั้งราคาโดยบวกจากต้นทุน แต่การใช้วิธีนี้ก็มีโอกาสเสี่ยง เพราะเมื่อไม่ได้มองที่ต้นทุน หากวัตถุดิบที่ต้องใช้สร้างสินค้า และบริการผันผวนสูงขึ้น ก็มีโอกาสสร้างความเสียหายทางธุรกิจได้

สรุป

การตั้งราคาสินค้า ถือเป็นการใช้ศาสตร์ และศิลป์ที่ต้องอาศัยประสบการณ์สูง เพราะราคาที่ตั้ง หมายถึงรายได้ที่รับมาของบริษัท แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่ทำให้ธุรกิจยั่งยืน เพราะยังมีเรื่องบริหารต้นทุน และการทำตลาดเพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อกลับมาด้วย

อ้างอิง // 3 Old-School Pricing Techniques Still Work Today

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา