อย่าปล่อยให้ธุรกิจตกขบวน! รวมทุกมิติเพื่อสร้างโอกาสเติบโต จากเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำไปกับ EARTH JUMP 2024 โดย KBank

ประเด็น Sustainability กำลังเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เป็น “วาระสำคัญระดับโลก” มันคือการลงมือทำในสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและลดการทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลกมากขึ้น 

เป็นประเด็นใหญ่ที่ธุรกิจทุกประเภทต้องให้ความสนใจและลงมือทำอย่างจริงจัง เพราะหลายประเทศให้ความสำคัญและออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประเทศไทยเองก็กำลังเดินหน้าข้อกำหนดกฎเกณฑ์เหล่านี้เช่นกัน นั่นแปลว่า ไม่ว่าคุณจะมีธุรกิจใหญ่หรือเล็กในท้ายที่สุดก็ย่อมต้องปรับตัว

earth jump 2024

ถ้าไม่เริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ นอกจากคุณจะเป็นธุรกิจที่ตกขบวน คุณอาจพลาดโอกาสในการทำธุรกิจได้ไม่มากก็น้อย เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สังเกตได้จากสินค้าประเภทรีไซเคิลหรือสินค้ารักษ์โลกที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคมากกว่าสินค้าทั่วไป เพราะมันช่วยสะท้อนจุดยืนของผู้บริโภคว่าพวกเขาก็รักษ์โลก และต้องการสนับสนุนแบรนด์ที่รักษ์โลกเช่นเดียวกัน 

นี่คือยุคแห่งการปรับตัวและก้าวกระโดดสู่การเป็นองค์กรเพื่อความยั่งยืนอย่างจริงจัง

KBank คือองค์กรอันดับต้นๆ ของไทยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องและยังกำหนดเป้าหมายให้เป็นองค์กร Net Zero ภายในปี 2030 ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น KBank ยังพร้อมเป็นตัวกลางสนับสนุนให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่านธุรกิจให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กลายเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ไปด้วยกัน 

ล่าสุด KBank เตรียมจัดงาน EARTH JUMP 2024 เป็นปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด The Edge of Action เพื่อเตรียมความพร้อมนักธุรกิจและผู้ประกอบการก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ จัดเต็มความรู้จากผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ท่านจากหลากหลายสาขาและยังมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทชั้นนำระดับโลกมาให้คำปรึกษาธุรกิจแบบตัวต่อตัว ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากมากที่จะรวบรวมองค์กรชั้นนำระดับนี้มาไว้ในงานเดียว 

ภายในงานจะแบ่งออกเป็นสามกิจกรรมสำคัญ คือ

1) การสัมมนาเชิงลึกผ่านเวที Vision to Action ที่จะเปิดวิสัยทัศน์รอบด้าน รวมถึงทิศทางและนโยบายเรื่อง Net Zero ของประเทศ และเวที Story to Action ที่คัดสรรเนื้อหาเข้มข้นเจาะลึกกลยุทธ์พิชิตความยั่งยืนเพื่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะ 

2) การให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวหรือ Business Clinic จากบริษัทชั้นนำระดับโลกที่แบ่งเป็นคลินิกให้คำปรึกษาธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้สามารถปรับตัวเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ ทั้ง Decarbonization Advisory, EV Charger, Green Loan และ Low Carbon Packaging เป็นต้น และยังมีคลินิกสำหรับธุรกิจ Startup ที่จะได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมายจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง Baker & McKenzie หรือด้านเทคโนโลยีจาก Accenture ตลอดจนเรื่องการวางแผนระดมทุนจาก Beacon Venture Capital ได้ด้วย 

3) กิจกรรม Workshop ที่เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจและคนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านรูปแบบ Card Game 

Climate Change ทำไมคนทำธุรกิจต้องให้ความสำคัญ?

ในมิติสัมมนาเชิงลึก จะทำให้คุณเข้าใจสถานการณ์ Climate Change มากขึ้นว่า วิกฤตโลกเดือดตอนนี้ทำให้เกิดพายุที่รุนแรงและถี่ขึ้นในหลายทวีป ส่งผลต่อพืชผลและวิถีชีวิตของผู้คน อาหารเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการ Climate Change ยังส่งผลต่อความยากจนของผู้คน ทำให้คนพลัดถิ่นมากถึง 23.1 ล้านคนในแต่ละปี 

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หลายประเทศร่วมกันแก้ปัญหา ด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโลกร้อน ประเทศไทยก็ตั้งเป้าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลงเช่นกัน โดยแบ่งระยะเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ภายในปี 2030 จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 40% ภายใน 2050 การเป็นกลางทางคาร์บอน คือการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยวิธีการอื่น เช่น ปลูกป่าชดเชย และภายในปี 2065 จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

ส่วนผลกระทบต่อธุรกิจนั้น การลดการปล่อยก๊าซฯ ดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจที่มีความเกี่ยวพันกับการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ไฟฟ้า ขนส่ง ยานยนต์ ก่อสร้าง เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ภาคการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปแบบของผู้ผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องย่อมได้รับผลกระทบจากการเตรียมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวไปด้วย 

หากธุรกิจทุกขนาดทั้งเล็กและใหญ่ไม่ปรับตัวก็อาจได้รับผลกระทบที่เกิดจากมาตรการที่ต้องทำตามนโยบายลดการปล่อยก๊าซฯ ทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ จะทำให้ต้องมีการเปลี่ยนพฤติกรรมของธุรกิจส่งผลให้มีต้นทุนสูงขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็หันมาให้ความสนใจและสนับสนุนธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ในปัจจุบันหลายประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามออกนโยบายว่าจะนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่สะท้อนว่าคำนึงถึงเรื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง มีส่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากใครไม่ทำตามเกณฑ์นี้จะต้องเสียค่าภาษีนำเข้า-ส่งออก ไปจนถึงต้องจ่ายค่าต้นทุนของสินค้าเพิ่ม บริษัทที่ต้องการทำธุรกิจด้วย ก็จะเลือกผลิตหรือนำเข้าสินค้าหรือชิ้นส่วนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั้ง Supply Chain ดังนั้นบริษัทที่ไม่คำนึงถึงด้านนี้ก็จะตกขบวน ไม่สามารถคว้าโอกาสในการดำเนินธุรกิจในโลกยุคปัจจุบันได้

earth jump 2024

Carbon Tax รู้จักภาษีคาร์บอน ต้นทุนแบบใหม่ทางธุรกิจ 

นอกจากนี้ประเด็นเสวนามีประเด็นร้อนที่คนสนใจ เช่น เรื่อง Carbon Tax หรือภาษีคาร์บอน ปัจจุบันหลายประเทศก็เริ่มเก็บภาษีคาร์บอนแล้ว ตามหลักการที่ว่าไม่อยากให้ใช้อะไรให้เก็บภาษีจากสิ่งนั้น เมื่อต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมคน เพื่อจูงใจคน เพื่อสนับสนุนให้ใช้พลังงานทดแทน ให้ธุรกิจต่างๆ หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ภาษีคาร์บอนจึงกลายเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการดำเนินนโยบายเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคน จูงใจคนที่ก่อมลพิษให้เปลี่ยนกระบวนการในการทำธุรกิจเพื่อคำนึงถึงภาวะโลกร้อนมากขึ้น 

ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องมีต้นทุนในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อจ่ายค่าภาษีสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่กระทบต่อธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่จะมีกระบวนการตรวจสอบย้อนหลังที่ทำให้รู้ว่าธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำมีกิจกรรมใดที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เท่าไร ทำให้ธุรกิจต่างๆ ที่เป็นห่วงโซ่ธุรกิจเกี่ยวข้องกัน จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้

ตลาดไฟฟ้าเสรี เทรนด์ใหม่ที่อาจทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง ต้นทุนทำธุรกิจก็น่าจะลดลง?

ในงานเสวนายังมีประเด็นที่กำลังเป็นประเด็นร้อนที่ผู้คนสนใจกันมาก คือเรื่องตลาดไฟฟ้าเสรี รายงานจาก TDRI ระบุว่า การจะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 ได้ ภาคการไฟฟ้าถือว่ามีบทบาทสำคัญมากที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ หากทำตลาดไฟฟ้าเสรีได้ การเข้าถึงไฟฟ้าและราคาจะลดลง แม้จะต้องใช้เวลาในการพัฒนา แต่ก็จะทำให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าสมดุลมากขึ้นทั้งในแง่ของดีมานด์และซัพพลาย อาจทำให้ต้นทุนการใช้ไฟฟ้าลดลง ต้นทุนการทำธุรกิจก็จะลดลงด้วย นโยบายในการใช้ไฟฟ้าจะเกิดความสมดุล มีความเป็นธรรมและมีราคาถูกมากขึ้น 

สินเชื่อสีเขียว (Green Finance) ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจให้ไปได้ไกล

สินเชื่อสีเขียวหรือ Green Finance หรือการเงินสีเขียวก็เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในยุคที่โลกต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะการเงินสีเขียวที่ว่านี้ จะเป็นแรงผลักดันที่ช่วยส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิด Green Economy ได้ 

สินเชื่อสีเขียวนี้ จะเป็นแหล่งทุนใหม่ให้แก่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งธนาคารกสิกรไทยก็เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบเข้ารับคำปรึกษาเพื่อเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในการอนุมัติสินเชื่อสีเขียว เข้าใจขั้นตอนและวิธีการขอรับเงินทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านเป็นธุรกิจคารบอนต่ำ ซึ่งก็มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป ที่ทำให้บริษัทสามารถติดตั้งแผงโซลาร์ได้ในราคาที่คุ้มค่า หรือจะเป็นสินเชื่อรับประกันการประหยัดพลังงานเพื่อลดต้นทุนธุรกิจ ไปจนถึงสินเชื่อสำหรับรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น เป็นต้น

นี่คือตัวอย่างความสำเร็จจากผู้ประกอบการไทยหลากหลายวงการที่ทำธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่จะมาร่วมเผยกลยุทธ์พิชิตความยั่งยืนภายในงาน EARTH JUMP 2024 ได้แก่ โบ.ลาน, Qualy, PASAYA และตลาดสี่มุมเมือง

earth jump 2024

ร้านอาหาร “โบ.ลาน” (Bo.lan) 

เป็นร้านอาหารไทยรางวัลมิชลินสตาร์ ที่เน้นทำอาหารจากวัตถุดิบอินทรีย์จากเกษตรกรในท้องถิ่น และยังเป็นร้านอาหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีทำให้ธุรกิจอาหารเติบโต ดังนั้นเมื่อมีวัตถุดิบที่เหลือจากอาหารหรือเศษอาหารก็นำไปเลี้ยงสัตว์ต่อ หรือลงทุนนำเข้าคอมโพสเตอร์เพื่อมาทำเป็นปุ๋ย ทำให้ขยะออกจากร้านให้น้อยที่สุด ไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก มีการใช้พลังงานทางเลือกจากโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถสร้างโอกาสธุรกิจไปพร้อมกับการลดต้นทุน

แบรนด์ Qualy

บริษัทที่ผลิตชิ้นงานจากพลาสติกที่ให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ออกแบบภายใต้แนวคิดความยั่งยืน เพื่อลดขยะพลาสติก ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น การใช้แหอวนปลดระวางเพื่อผลิตสินค้าแต่งบ้าน, การนำขวด PET รีไซเคิลจากขยะครัวเรือนและขยะอุตสาหกรรมมาผลิตวัสดุ, ลดการใช้น้ำมันดิบและแก๊สในการผลิต ช่วยลดต้นทุนในการผลิตสิ่งใหม่ ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า และยังได้ใจผู้บริโภคยุคใหม่ด้วย

PASAYA

แบรนด์สิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต PASAYA เป็นผู้ประกอบการที่ได้ Green Industry Label และผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว (เครื่องหมายรับรองสำหรับวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) และได้สร้างโรงงานสีเขียว สร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำงาน งดใช้สารเคมีอันตรายและมีบ่อบำบัดน้ำเสียครบวงจร ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนการใช้ไฟฟ้า เปลี่ยนจากการใช้ถ่านหินมาใช้แก๊ส LPG สินค้าได้รับการรับรองฉลากเขียว และ Thailand Trust Mark ไร้สารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย เป็นสินค้าที่ได้รับรองมาตรฐานทั้งในไทยและในระดับต่างประเทศ

ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดค้าส่งเพื่อความยั่งยืน 

ตลาดสี่มุมเมืองมีอายุยาวนานกว่า 40 ปีแล้ว ในปัจจุบันตลาดสี่มุมเมืองเพิ่งจะขยายการลงทุนกว่า 4,500 ล้านบาท มีเนื้อที่กว่า 320 ไร่ รองรับปริมาณสินค้าในตลาดกว่า 8,000 ตันต่อวัน มีเกษตรกรและผู้ขายกว่า 3,500 รายต่อวัน

ในด้านความยั่งยืน มีขยะมากกว่า 200 ตันต่อวันจึงทำโครงการรีไซเคิลขยะ มีทั้งนำผักไปให้อาหารโค และนำพลาสติกไปขายต่อให้บริษัทอื่นๆ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากการฝังกลบมากถึง 13 ล้านบาทต่อปี มีการสร้างบ่อบำบัดเพื่อบำบัดน้ำในตลาดและในหมู่บ้าน มีแผงโซล่าเซลล์เพื่อสร้างไฟฟ้า ส่งผลให้ช่วยลดค่าไฟได้ประมาณ 6 ล้านบาทต่อปี

earth jump 2024

อย่าพลาดโอกาสสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของคุณยืนหยัดแข่งขันได้ในโลกธุรกิจยุคนี้ อัปเดตเทรนด์พร้อมเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ พร้อมรับคำปรึกษาธุรกิจแบบตัวต่อตัวจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะทำให้คุณปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ตัวเองฝ่าวิกฤต Climate Change ไปด้วยกัน 

งาน EARTH JUMP 2024 จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00-17.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ 

earth jump 2024

พิเศษสำหรับแฟนเพจหรือผู้ติดตาม BI ที่ไม่อยากพลาดโอกาสพาธุรกิจสู่ความยั่งยืน สามารถคลิกสมัครเข้าร่วมงานได้ที่นี่ https://www.kasikornbank.com/k_4adN5Sw และกรอก code เพื่อรับส่วนลด 25% (จากราคาเต็ม 1,400 บาท) เพียงพิมพ์รหัส EJKBK25 ด่วน จำนวนจำกัด!!! รายได้จากการจำหน่ายบัตรทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายมอบให้มูลนิธิการกุศล

งาน EARTH JUMP 2024 ที่จัดโดย KBank เหมาะกับผู้ประกอบการธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่ที่ต้องการก้าวไปข้างหน้า ไม่พลาดโอกาสเติบโตในเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ งานเดียวที่รวมทุกมิติจะทำให้คุณได้ที่จะปรับตัวเพื่อก้าวสู่โลกยุคปัจจุบันพร้อมรับความท้าทายของโลกในอนาคต

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา